Monday, April 26, 2010

หนอนบ่อนไส้-ผู้นำใจไม่ถึง สาเหตุปราบกบฏเหลว!!

“ผ่าประเด็นร้อน”

ไม่น่าเชื่อว่าในท่ามกลางการสนับสนุนจากมวลชนแทบทุกฝ่ายที่ ตะโกนให้กำลังใจรัฐบาลโดยเฉพาะ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนเสียงแหบเสียงแห้งเร่งรัดจัดการกับกลุ่มม็อบเสื้อแดงของ ทักษิณ ชินวัตร เนื่องจากเห็นว่าเป็นการชุมนุมที่เลยเถิดทำผิดกฏหมายอย่างร้ายแรง

หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตจากพฤติกรรมและการเคลื่อนไหวในหลากหลายรูปแบบ พบว่าคนกลุ่มนี้ไม่ใช่มีเป้าหมายแค่โค่นล้มรัฐบาลเท่านั้น แต่ไปไกลกว่าจนสุดขั้ว นั่นคือการสถาปนา “รัฐไทยใหม่” ซึ่ง จะกระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวสอดคล้องกันอย่างเป็นขบวนการ เพราะแม้แต่นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงอย่าง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และล่าสุด พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ยังระบุออกมาในทำนองเดียวกัน

แต่ที่น่าแปลกก็คือ ในเมื่อรับรู้อยู่เต็มอกว่าการเคลื่อนไหวของแกนนำคนเสื้อแดงที่กระทำตามคำ สั่งและตามอำนาจเงินของ ทักษิณ มีเป้าหมายเพื่อทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักของชาติ อีกทั้งยังมีเสียงเรียกร้องจากประชาชนคนไทยทั่วประเทศที่รับรู้ข้อมูลให้ รัฐบาลรีบจัดการกับกบฏกลุ่มนี้โดยเร็วและเด็ดขาด ให้ใช้อำนาจตามกฏหมายก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป กลับกลายเป็นว่ายังถูกวางเฉย ยังมัวรีรอ ละล้าละลังไม่กล้าทำอะไรสักอย่าง จนทำให้สังคมเกิดความอึดอัด และที่สำคัญทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้นทุกวัน

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการปฏิบัติการของ เจ้าหน้าที่ที่ล้มเหลวหลายครั้ง ที่เห็นได้ชัดก็คือการบุกเข้าจับกุมแกนนำหลายคนที่โรงแรมเอสซีปาร์คในเครือ ของ ทักษิณ เมื่อสองสัปดาห์ก่อน หรือกรณีการปิดถนนตั้งด่านเถื่อนของคนเสื้อแดงที่กำลังแพร่ระบาดหลายจังหวัด เพื่อสกัดการเคลื่อนย้ายกำลังของเจ้าหน้าที่ สาเหตุสำคัญก็มาจากเรื่อง “หนอนบ่อนใส้” ที่คาบข่าวไปบอกนั่นเอง

สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กำลังตกเป็นเป้าสายตาและถูกวิพากษ์ วิจารณ์อย่างหนักจากสังคมในขณะนี้ก็คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ถูกระบุว่ามีจำนวนไม่น้อยทั้งระดับล่างไปจนถึงระดับสูง ต่างเข้าด้วยช่วยเหลือกลุ่มกบฏเสื้อแดง และ มีความเห็นอกเห็นใจ ทักษิณ ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน เช่นบางคนที่เป็นชั้นผู้น้อยมีครอบครัวมีวิถีชีวิตไม่ต่างจากชาวบ้านรากหญ้า ทั่วไป มีความชื่นชมในนโยบาย “แหกตา” ประชานิยม

ขณะที่อีกจำนวนหนึ่งเคยได้รับประโยชน์จากเงินส่วนแบ่งจากโครงการหวย ได้รับการเลี้ยงดูจากระบอบทักษิณจนอ้วนพี จึงช่วยไม่ได้ที่จะต้องแอบลุ้นหรือให้ความช่วยเหลือแบบลับๆตลอดเวลา ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกนายตำรวจที่เติบโตมาภายใต้อำนาจของ ระบอบทักษิณ ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้งเพื่อนร่วมรุ่น ลูกน้องของเพื่อนร่วมรุ่น เพื่อนของเพื่อนที่ข้ามหัวคนอื่น ซื้อเก้าอี้ หรือได้ประโยชน์ในยุคนั้นมาอย่างเต็มที่ คนพวกนี้จึงยังคอยรับใช้ คอยเป็นสายลับ คอยส่งข่าวสอดแนมอยู่ตลอดเวลา

ในวงการทหารก็มีจำนวนไม่น้อยที่มีลักษณะไม่ต่างกัน เพราะหลังจากที่มีการเปลี่ยนขั้วอำนาจใหม่กลุ่มอำนาจเดิมในกองทัพต่างถูกเตะ โด่งออกไป ดังนั้นคำพูดของแกนนำคนเสื้อแดงที่ระบุว่าเวลานี้ตำรวจ “มะเขือเทศ” และ “ทหารแตงโม” จึงไม่ใช่เรื่องที่ เกินเลยความจริง

อย่างไรก็ดี ในฐานะข้าราชการของพระเจ้าอยู่หัว ทหารและตำรวจของพระเจ้าอยู่หัวที่มีการถวายสัตย์ฯ ว่าจะจงรักภักดีปกป้องชาติ และราชบัลลังก์ บรรดาข้าราชการเหล่านี้ก็น่าจะได้สำนึก และหันกลับสู่แนวทางปฏิบัติตามที่ควรจะเป็น เพราะรับรู้กันแล้วว่าเป้าหมายของ ทักษิณ และแกนนำคนเสื้อแดงกำลังดำเนินอยู่นั้นเพื่อล้มล้างสถาบันหลัก และนี่คือพฤติกรรมของกบฏชัดๆ

อีกส่วนหนึ่งที่ถือว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ พฤติกรรมของผู้นำทั้งผู้นำรัฐบาล และผู้นำกองทัพ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ในฐานะผู้รับผิดชอบในการใช้กำลังแก้ปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่ยอมบังคับ ใช้กฏหมายกับผู้ที่ฝ่าฝืนให้เด็ดขาด แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะเข้าใจดีว่าการใช้ความเด็ดขาดอาจก่อให้เกิดความสูญเสีย บ้าง แต่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติหรือที่เรียกว่าสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงนั้นเมื่อ ฝ่ายรัฐได้แต่ตั้งรับไม่ยอมดำเนินการใดๆ ให้เกิดความคืบหน้า หรืออย่างน้อยทำให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความเกรงกลัวจนเกิดความยับยั้งชั่งใจใน การกระทำที่ผิดกฏหมายหรือ ไม่สนับสนุนกับผู้ทำผิดกฏหมาย แต่นี่ตรงกันข้ามหลายครั้งกลับ “วางเฉย” ในทำนองปฏิเสธความรับผิดชอบเสียอีก

ดังนั้น หากพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมและพฤติกรรมส่วนตัวเป็นองค์ประกอบหลักแล้วสาเหตุ สำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤติของชาติบ้านเมืองมาอย่างต่อเนื่องส่วนสำคัญที่สุดก็ คือผู้นำที่ไม่มีความเด็ดขาด ใจไม่ถึง ไม่เคยสรุปบทเรียนที่แล้วมายนั่นเอง

แต่ในทางกลับกัน บางครั้งแม้จะรู้ทั้งรู้แต่ไม่ยอมลงมือ เนื่องจากเกรงเสียภาพลักษณ์ เกรงเสียงนินทา หรือกลัวว่าตัวเองมีความเสี่ยง สู้ประคองตัวไปวันๆ โดยไม่นำพาต่อความสูญเสียที่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้า คนประเภทนี้น่าจะอำมหิตยิ่งกว่า!!

ก๊กแดงสั่งสมุนทั่วประเทศขวางทหาร-ตำรวจส่งกำลังเสริมกรุงเทพฯหวั่นถูกสลาย

Monday, April 12, 2010

นายกฯ พร้อมจัดการผู้ก่อการรายแฝงแดง ยันรัฐ กองทัพ มีเอกภาพ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 เมษายน 2553 14:32 น.


“อภิสิทธิ์” รายงานสถานการณ์ผ่านทีวีพูล ชี้ เหตุ 10 เมษา ผู้ก่อการร้ายแฝงม็อบแดงก่อความไม่สงบ หวังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ยันรัฐเตรียมมาตรการจัดการ วอนผู้บริสุทธิ์อย่าร่วม เผยคุยพรรคร่วมโอเค นำข้อเสนอเจรจาเสื้อแดงเร่งรัดเป็นทางออกชาติ ยัน กองทัพ พรรคร่วมยังมีเอกภาพรัฐ พร้อมตั้งกรรมการประมวลเหตุวิปโยค และเยียวยาทุกฝ่าย วอนประชาชนสนับสนุน


วันนี้ (12 เม.ย.) ที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ออกแถลงการณ์ ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ โดยเป็นการรายงานสถานการณ์ หลังเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย.ว่า ขณะนี้ประชาชนรู้ข่าวสารมากขึ้น และรับทราบเหตุการณ์ว่าเป็นอย่างไร โดยเริ่มเห็นผู้ก่อการร้าย ที่อาศัยผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงเป็นเครื่องมือก่อความไม่สงบ เพื่อหวังให้เกิดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งรัฐเตรียมกำหนดมาตรการเพื่อมุ่งแยกผู้ก่อการร้ายให้ออกจากผู้บริสุทธิ์ และวอนผู้บริสุทธิ์อย่าเข้าร่วม และถ้าแยกแยะผู้ก่อการร้ายได้ชัดเจนแล้ว ก็จะกำหนดมาตรการในการดำเนินการที่เหมาะสมต่อไป ส่วนปัญหาข้อเรียกร้องต่างๆ ทั้งเรื่องความไม่ยุติธรรม และปัญหาประชาธิปไตยนั้น ก็ต้องมีการแก้กันโดยฝ่ายการเมือง ซึ่งตนและพรรคร่วมรัฐบาล ก็จะนำเอาข้อเสนอที่เคยเสนอไว้ในการเจรจากับกลุ่มคนเสื้อแดง มาดำเนินการเร่งรัดเพื่อให้เป็นทางออก โดยการแก้ไขปัญหาทั้ง 2 ทางจะต้องคู่ขนานกัน ทั้งนี้ตนยืนยันว่า กองทัพและทางราชการ กับฝ่ายการเมือง ยังมีเอกภาพ เพื่อที่จะร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ

นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวต่อว่า ส่วนกรณีเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย.นั้น ก็ต้องมีการรวบรวมเหตุการณ์ขึ้น รวมทั้งมีการตรวจสอบและการแสดงความรับผิดชอบ โดยทางรัฐได้ตั้งคณะกรรมการประมวลเหตุการณ์ และพร้อมให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ และการชี้แจงกับองค์กรอิสระ อาทิ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ขณะที่การเยียวยาในเหตุการณ์ รัฐก็จะให้ความเยียวยากับทุกฝ่ายและจะทำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งช่วยเหลือด้านความเสียหายกับผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ตนยืนยันว่า รัฐบาลจะเดินหน้าสะสางสถานการณ์ให้เร็ว จึงขอให้ประชาชนสนับสนุนรัฐบาลเพื่อปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว

รายละเอียดคำแถลงของนายกรัฐมนตรี

"พี่น้องประชาชนที่เคารพรักครับ สำหรับการรายงานสถานการณ์และแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาลต่อปัญหาสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ผมขอเรียนพี่น้องประชาชนครับว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 10 เมษายน เป็นต้นมา ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพี่น้องประชาชนจะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้นโดยลำดับ ทำให้เห็นความชัดเจนมากยิ่งขึ้นครับว่า เหตุการณ์ในวันนั้นมีลักษณะของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร

ผมขอเรียนครับว่า จากภาพรวมของสิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ เราเริ่มมองเห็นชัดเจนแล้วครับว่า มีบุคคลจำนวนหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ได้อาศัยการที่พี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่มาชุมนุมเรียกร้องในเรื่องของประชาธิปไตย และปัญหาความไม่ยุติธรรมนั้น ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อก่อความไม่สงบให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง หวังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ปัญหาที่เกิดขึ้นตรงนี้ รัฐบาลและทุกหน่วยงาน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ และรวมถึง ศอฉ.นั้น จึงได้มีการกำหนดมาตรการในการที่จะดำเนินการต่อไป โดยมีความมุ่งหมายสำคัญที่สุด ก็คือการแยกแยะกลุ่มผู้ก่อการ้ายดังกล่าวออกจากประชาชนผู้บริสุทธิ์ เราอยากจะเรียกร้องให้พี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย อย่าได้เข้าร่วม หรือเป็นเครื่องมือของกระบวนการตรงนี้ และเมื่อเราสามารถที่จะแยกแยะได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ก็จะสามารถในการที่จะกำหนดมาตรการในการดำเนินการที่เหมาะสมต่อไป ในส่วนของการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น

ขณะเดียวกัน ในส่วนของปัญหาข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมที่เป็นข้อเรียกร้องในเรื่องของความ ไม่ยุติธรรม หรือประชาธิปไตยนั้น เป็นปัญหาที่ต้องแก้โดยฝ่ายการเมือง ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมโดยรัฐบาลและพรรคการเมืองที่ประกอบกันเป็นพรรคร่วมรัฐบาลนั้น ได้มีการปรึกษาหารือกันอย่างต่อเนื่อง นำเอาข้อเสนอที่ผมได้เคยใช้ในการเจรจากับแกนนำ นปช.ก่อนที่จะเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน มาดำเนินการในการเร่งรัด ในการปรับ เพื่อที่จะนำเสนอให้เป็นคำตอบทางออกสำหรับการแก้ปัญหาทางการเมืองต่อไป

การดำเนินการทั้งสองส่วนนี้ คือการบริหารแก้ไขสถานการณ์ที่จำเป็นจะต้องมีการแยกแยะให้ชัดเจนระหว่าง ประชาชนผู้บริสุทธิ์ กับบรรดากลุ่มผู้ก่อการร้าย และความไม่สงบทั้งหลาย กับการดำเนินการแก้ไขทางการเมืองนั้น จะต้องดำเนินการอย่างคู่ขนานกัน ซึ่งขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล กองทัพ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนพรรคการเมืองที่ประกอบกันเป็นพรรคร่วมรัฐบาลนั้น ดำเนินการกันอย่างมีเอกภาพ มีความสอดคล้องต้องกัน เพื่อมุ่งมั่นไปสู่การแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นทั้งหมด

สำหรับกรณีเหตุการณ์ในวันที่ 10 เมษายนนั้น แน่นอนครับจะต้องมีการประมวลเหตุการณ์ ตรวจสอบข้อเท็จจริง และถ้ามีความชัดเจน ก็จะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบ

การดำเนินการในส่วนนี้ รัฐบาลก็จะได้มีการดำเนินการในการตั้งคณะกรรมการประมวลเหตุการณ์ เช่นเดียวกับที่เคยได้ดำเนินการหลังจากเหตุการณ์ในเดือนเมษายนปีที่แล้ว และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับกระบวนการการตรวจสอบที่ดำเนินการโดยองค์กร ที่มีอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรง และมีความเป็นอิสระ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

ขณะเดียวกัน การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูญเสีย ผู้บาดเจ็บ ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายใดนั้น ก็จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นในทางเศรษฐกิจ กับบรรดาผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง

ผมขอเรียนกับพี่น้องประชาชนครับว่า รัฐบาลจะเดินหน้าสะสางปัญหาต่างๆ ตามแนวทางเหล่านี้อย่างรวดเร็วที่สุด และขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนอีกครั้งหนึ่งในการให้การสนับสนุนรัฐบาล ในการดำเนินการตามแนวทางนี้ สวัสดีครับ"
แกนนำเสื้อแดงควรรับผิดชอบอะไรบ้าง ที่นำประชาชนมาตาย ดูวีดีโอประกอบจาก Manager Multimedia
โดย พันเอก ลพบุรี 12 เมษายน 2553 15:37 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาด ใหญ่ขึ้น



รายงาน...ภาพรอยเตอร์ชัดไอ้โม่งยิงทหาร

สถานการณ์ในปัจจุบัน ชัดเจนแล้วว่า รัฐบาลกำลังต่อสู้กับกองโจรติดอาวุธที่แอบแฝงในกลุ่มผู้ชุมนุม โดยมีผู้ชุมนุมบางคนรู้เห็นเป็นใจด้วย ตามที่ปรากฎในภาพข่าวทางโทรทัศน์ (โจร คนหนึ่งใส่เสื้อความจริงวันนี้ อีกคนหมอบอยู่กับคนเสื้อแดง) โดยกลุ่มกองโจรดังกล่าว ได้นำเอาแผนการณ์ที่เคยใช้สำเร็จในเหตุการณ์รุนแรงเมื่อเดือนพฤษภาคม 35 มาใช้ในครั้งนี้ด้วย คือการยิงทหารโดยปะปนอยู่ในกลุ่มคนเสื้อแดง และยิงทั้งทหารและประชาชนจากตึกสูง ทำให้สามารถยิง M.79 ถึง 2 นัดต่อเนื่องกันใส่ทหารระดับผู้บังคับบัญชาชั้นสูงบาดเจ็บสาหัสไป 2 คน (พล.ต.วลิต โรจนภักดี ผบ.พล.ร.2 รอ. และ พ.ท.เกรียงศักดิ์ นันทโพธิ์เดช ผบ.พัน 2 ร.12 รอ.) ตายไปอีก 1 คน (พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม) บาดเจ็บอีกนับ 100 คน ผบ.ทบ.รู้สึกอะไรบ้างไหม?

เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ แกนนำผู้ชุมนุมจะต้องออกมาร่วมรับผิดชอบด้วย ในการที่เคลื่อนไหวนำประชาชนออกมาตายขนาดนี้ และยังปล่อยให้มีกองโจรเข้ามาอยู่ในที่ชุมนุมร่วมกับเสื้อแดงยิงทหาร ไม่ใช่มานั่งร้องไห้ไม่มีน้ำตาต่อที่ชุมนุม วิธีที่แกนนำเสื้อแดงควรทำเพื่อ แสดงความรับผิดชอบ คือ การยุติการชุมนุมทันที ไม่ต้องสนใจคำสั่งของทักษิณ และเข้าร่วมกับรัฐบาล เพื่อสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่นำศพออกไปแห่ประจานเพื่อขยายความรุนแรงออก ไปอีก ซึ่งเป็นการกระทำเสมือนว่า แกนนำรู้เห็นเป็นใจกับกลุ่มกองโจร พยายามปิดบังข้อมูลต่างๆ เช่น การทำลายภาพถ่ายในกล้อง VDO ของนักข่าวรอยเตอร์ที่เสียชีวิตก่อนจะคืนกล้องให้ ในขณะที่ข่าวรอยเตอร์แจ้งว่า “กระสุนจริงออกมาจากฝ่ายผู้ชุมนุม”, การนำคนเสื้อแดงที่ร่วมสนับสนุนกลุ่มบุคคลชุดดำไปซ่อนตัว, การตัดต่อ VCD บิดเบือนข้อเท็จจริง, การนำอาวุธอื่นที่ทหารทิ้งไว้ไปซุกซ่อน ฯลฯ

ถ้าแกนนำไม่สลายการชุมนุม ก็เท่ากับว่า แกนนำยอมรับว่า เป็นผู้ที่สนับสนุนกองโจร ซึ่งแกนนำจะมีสภาพ “เป็นกบฏภายในพระราช อาณาจักร” ทันที ส่วนผู้ สนับสนุนก็จะมีฐานะไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ส.ส.พรรคเพื่อไทย หรือ “บิ๊กจิ๋ว” ตัวดี

ส่วนทางฝ่ายรัฐบาลและทหาร ได้ทำดีในแนวทางสันติมาตลอด จนทำให้เกิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของโลกขึ้นว่า ประชาชนล้อมฆ่าทหาร ไม่ใช่ทหารเป็นฝ่ายฆ่าประชาชนเหมือนในอดีต ดังนั้นรัฐบาลจะต้องตระหนักถึง 2 เรื่องว่า การส่งทหารพร้อมกับกระสุนยางออกไปกดดันต่อคนเสื้อแดงนั้น เท่ากับส่งทหารออกไปตายชัดๆ และจะเป็นผลทำให้กลุ่มโจรเสื้อแดงหาโอกาสยิงประชาชนเพิ่มขึ้นอีก ส่วนคนเสื้อแดงที่ชุมนุม คือประชาชนธรรมดา ที่รู้ไม่เท่าทันเหตุการณ์ ตกเป็นเครื่องมือให้ออกไปตายแทนแกนนำ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องยึดถืออยู่เหมือนเดิมว่า เสื้อแดงที่ ชุมนุม คือประชาชนเหมือนกัน เหมือนกับที่รัฐบาลเคยทำมาแล้ว อย่าให้ความดีตรงนี้ศูนย์เสียไป แม้จะเจ็บปวดขนาดไหนก็ต้องทน ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลควรทำ คือ (1)การประกาศกฎอัยการศึก เป็นพื้นที่ อย่ายุบสภา เพราะจะทำให้สถานการณ์รุนแรงยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในชนบท ทักษิณ ต้องการทำลายสถาบันทุกอย่างของชาติไทยให้พังพินาศจนหมดสิ้นก่อนที่ตัว เองจะตายไป หรือต้องการเข้ามาเจรจากับรัฐบาลด้วยตนเองในประเทศไทย (2)เข้ายึดหรือยุติการสนับสนุนของบริษัทต่างๆ ที่ช่วยเหลือกลุ่มคนเสื้อแดง ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล, บริษัทแม็ชบอก มือตัดต่อ CD, มือหาคนมาเชียร์เสื้อแดง, บริษัทฮาวคัม ที่จัดหาจอโปรเจคเตอร์ เครื่องเสียง, เจ้าของรถสิบล้อ, เจ้าของเครนที่ตั้งอยู่ใน จ.สมุทรปราการ ฯลฯ (3)จับกุมตัวแกนนำตามหมายจับของศาลให้ได้ เหตุการณ์จะจบลงเอง ก่อนที่แกนนำเหล่านี้จะถูกทหารลอบสังหาร เพื่อแก้แค้นแทนลูกพี่ลูกน้อง ซึ่งโอกาสมีสูงถึง 80% (4)เปิดเผยเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในวันที่ 10เม.ย.53 อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนไทยเข้าใจว่าข้อเท็จจริงคืออะไร (5)สืบสวนขยายผลบนตึกสูงที่มีการลอบยิงว่าใครอนุญาติให้ขึ้นไป และมีใครขึ้นไปบ้าง, ขอตรวจสอบภาพของช่างภาพญี่ปุ่นของสำนักข่าวรอยเตอร์ ว่ากลุ่มเสื้อแดงลบภาพในกล้อง VCD ตอนไหนทิ้ง ก่อนคืนกล้องให้ ฯลฯ

สิ่งสำคัญ คือ การดำเนินงานมุ่งไปที่แกนนำโดยตรง อย่าสนใจกลุ่มประชาชนที่ชุมนุม โดยเฉพาะการตรวจสอบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของแกนนำผ่านคอมพิวเตอร์ จะเห็นชัดว่า มีการติดต่อกับใครบ้าง ทั้งในและนอกประเทศ บิ๊กจิ๋วติดต่อทักษิณกี่ครั้ง เอามาเปิดเผยให้ประชาชนทราบถึงเล่ห์กลเหล่านี้ให้ได้ ประการสำคัญ รัฐบาลต้องทำงานเป็นทีม มีคนมากมาย ทั้งนักการเมือง, นักวิชาการ ที่ต้องการเข้ามาช่วยรัฐบาล เปิดช่องให้เข้ามาหน่อย สำหรับสาธิตและศิริโชค อยู่นิ่งๆ สักพักหนึ่งจะดีมาก กรณีคนร้ายยิงตำรวจตาย คนร้ายก็ต้องตายเหมือนกัน ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ทราบกันอยู่ทั่วไป กรณีคนร้ายยิงทหารตาย แกนนำเสื้อแดงก็ควรต้องเป็นผู้รับผิดชอบไม่แตกต่างกัน เงินกว่า 100 ล้าน ที่แกนนำได้มาก็จะช่วยอะไรไม่ได้ ระวังให้ดี ส.ห.จะเก็บไอ้เก่งก่อน เป็นคำทำนาย

ชัดมั้ย!! “ตู่” ไล่ “สุเมธ” กราบทูลฯ รัฐฆ่าแดง ขู่ “มาร์ค” อยู่ต้องตายไปข้าง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 เมษายน 2553 13:43 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาด ใหญ่ขึ้น
นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย


โรงน้ำแข็งราชประสงค์เร่งปั้นน้ำต่อเนื่อง!! “จตุพร” หากินกับเหยื่อ จวกรัฐทำเหตุการณ์เหมือน 6 ตุลา ปิดบังศพ เย้ยเก้าอี้ “มาร์ค” ร้อนเหมือนเมรุ พูดมั่วๆ โยงยุบสภา 3- 6 เดือน จะมีตายอีก 36 ศพ เหิมเกริม ไล่ “สุเมธ” กราบบังคมทูลในหลวง รัฐสังหารประชาชน ชี้ทหารตายสังเวยกรรมเมษา 51 ไล่ “กำธน” เตือน “ป๋า” ฐานตัวการ ลั่นถ้า “อภิสิทธิ์-สุเทพ” ยังอยู่ ต้องตายไปข้างหนึ่ง

วันนี้ (12 เม.ย.) ที่สี่แยกราชประสงค์ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ตั้งแต่ช่วงเช้าค่อนข้างเงียบเหงา เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนยังพักผ่อนกระจายอยู่โดยรอบบริเวณ ส่วนทางเข้าออกสถานที่ชุมนุมจุดต่างๆ ทั้งบริเวณสถานีไฟฟ้าบีทีเอส ราชดำริ ถนนราชดำริ บริเวณแยกเพลินจิต ถนนสุขุมวิท บริเวณแยกประตูน้ำ และด้านหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระราม 1 มีการ์ด นปช.ประจำอยู่ตามจุดเพื่อเฝ้าระวังบุคคลที่จะผ่านเข้าออกตามปกติ สำหรับเส้นทางการจราจรได้เปิดเส้นทางสุขุมวิทขาออก ช่องทางซ้ายสุด เพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าไปยังถนนราชดำริได้

ส่วนบรรยากาศบนเวทีปราศรัย มีแกนนำ อาทิ นพ.เหวง โตจิราการ นายก่อแก้ว พิกุลทอง สลับกันขึ้นเวทีปราศรัยพร้อมสรุปข่าวให้กลุ่มผู้ชุมนุมรับฟังเป็นระยะ โดย นพ.เหวง กล่าวโจมตีการกระทำของรัฐบาลที่สั่งให้ทหารปะทะกับประชาชนจนมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก พร้อมกับตอบโต้กรณีที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ระบุว่า คนเสื้อแดงเป็นผู้ยิงอาวุธปืนเอ็ม 79 ทำร้ายทหารว่า ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ดังนั้น สิ่งที่นายสุเทพจึงเป็นการกล่าวใส่ร้ายประชาชน

ขณะที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย แกนนำคนเสื้อแดง แถลงข่าวว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์พยายามที่จะทำให้เหมือนกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ด้วยการปิดบัง ซ่อนเร้นคนตาย ซึ่งคนเสื้อแดงคาดว่ายอดคนล้มตายน่าจะไม่หยุดอยู่แค่นี้ และยังมีการขัดขวางไม่ให้เอาศพมาทำพิธีกรรม ซึ่งรัฐบาลนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีการนำอาวุธสงครามาปราบปรามประชาชน ทั้งที่รู้ว่าการปราบปรามประชาชนในช่วงมืดเป็นการสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการล้ม ตาย ส่วนการที่รัฐบาลใช้สื่อรัฐเบี่ยงเบนประเด็นว่าประชาชนที่ตายไปถูกมือที่ 3 การโกหกของนายอภิสิทธิ์ที่อยู่บนความตายของคนเสื้อแดงตอนนี้กว่า 16 ชีวิตแล้ว ทำให้เก้าอี้ของนายอภิสิทธิ์ร้อนเหมือนเมรุเผาศพที่ดวงวิญญาณของคนตายมาทวง ความยุติธรรม ทั้งนี้ ตนตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อมีการปราบปรามประชาชนจนมีการล้มตายก็มีการบอกว่าจะยุบสภาภายใน 3 เดือน 6 เดือน แสดงว่าข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงที่บอกให้ยุบสภาทันทีจะต้องแลกชีวิตคน เสื้อแดงอีก 36 ศพใช่หรือไม่

นายจตุพรกล่าวว่า ส่วนที่ นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการชัยพัฒนา ระบุว่า ตอนนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว แต่มีพ่อแม่คนไหนที่เห็นลูกตีกันแล้วมีความสุขนั้น ถ้านายสุเมธมีใจที่เที่ยงธรรม ก็อยากจะให้กลับไปกราบบังคมทูลฯ ข้อเท็จจริงกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่ารัฐบาลเป็นผู้สังหารประชาชน เอาอาวุธสงครามมาฆ่าประชาชน และเวลานี้วิบากกรรมกำลังตกมาอยู่ที่คนสั่งการ เพราะทหารได้รับกรรมไปแล้วซึ่งเป็นคนที่สั่งฆ่าประชาชนช่วงเดือน เม.ย.2551 ที่ผ่านมา 2 คนเสียชีวิต อีก 1 คนต้องตัดขา ที่พูดไม่ได้สะใจ แต่อยากแสดงให้เห็นว่ากรรมมีจริง

นายจตุพรกล่าวต่อว่า ส่วนการที่ พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ออกมาเตือนว่า คนไทยไม่ควรทำร้ายกันเอง สิ่งที่องคมนตรีควรจะไปเตือนคนแรก คือ พล.อ.เปรม ตินสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เพราะทุกชีวิตที่ตาย พล.อ.เปรมอยู่ในสถานะของตัวการ ขณะที่ นายสุเทพ และ ผบ.ทบ.แถลงว่า มีผู้ก่อการร้ายแฝงตัวเข้ามาในกลุ่มผู้ชุมนุมนั้น ผู้ก่อการร้าย ก็คือ ทหาร และหัวหน้าก่อการร้ายชื่อสุเทพ เทือกสุบรรณ ทั้งนี้ ถ้านายอภิสิทธิ์และนายสุเทพยังยืนอยู่บนเก้าอี้นี้ต่อไปก็คงต้องสู้กันให้ ตายไปอีกข้างหนึ่ง เพราะตนคงไม่ยอมให้ประชาชนตายเปล่า ต้องมีคนรับผิดชอบและมีคนติดคุก

ย้อน รอยเอ็ม 79 ถล่มแยกคอกวัว ทหารหักทหาร...บูรพาพยัคฆ์อัสดง?

การสูญเสียนายทหารฝีมือดีอย่าง พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม
รองเสนาธิการ กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์(รองเสธ.พล.ร.2 รอ.)
ณ สมรภูมิสี่แยกคอกวัว สร้างความสลดใจไปทั่วในหมู่คนในเครื่องแบบสีเขียว

แต่ พ.อ.ร่มเกล้า ไม่ใช่นายทหารระดับสูงเพียงคนเดียวที่ตกเป็นเป้าสังหาร
เพราะยังมีนาย ทหารระดับนายพลอย่าง พล.ต.วลิต โรจนภักดี ผบ.พล ร.2 รอ.
ได้รับบาดเจ็บ จากสะเก็ดระเบิดเอ็ม 79 ถึงขั้นขาหัก 3 ท่อน และ
ระดับผู้พันอย่าง พ.ท.เกรียงศักดิ์ นันทโพธิเดช ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2
กรมทหารราบ ที่ 12 รักษาพระองค์ (ร.12 พัน 2 รอ.)
ถูกสะเก็ดระเบิดจนต้องผ่าตัดสมอง ด้วย

ที่น่าสนใจก็คือทั้งหมดเป็นนายทหารสาย "บูรพาพยัคฆ์"
จากกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
ขณะที่พลทหารอีกจำนวนหนึ่งที่ เสียชีวิตก็สังกัดหน่วยทหารหน่วยนี้เช่นกัน

ปากคำทหารที่อยู่ในเหตุการณ์บอกกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า
ขณะเกิด มิคสัญญีที่สี่แยกคอกวัว พล.ต.วลิต ซึ่งออกมาบัญชาการภาคสนามด้วยตัวเอง
นั่ง ประชุมวางแผนอยู่บนฟุตบาทริมถนนตะนาวห่างจากสี่แยกคอกวัวไปทางตลาดบาง ลำพู
โดย มี พ.อ.ร่มเกล้า กับ พ.ท.เกรียงศักดิ์ ปฏิบัติหน้าที่อยู่ไม่ห่าง

จู่ๆ โดยที่ไม่มีใครคาดคิด ก็มีลูกระเบิดเอ็ม 79 ถูกยิงมาจากที่สูงตกลงกลางวงนายทหารระดับสูง
ที่กำลังนั่งหารือสถานการณ์ และไม่ใช่แค่ลูกเดียว แต่เป็นการยิงถล่มถึง 2 ลูกซ้อน
เป็นเหตุให้ พล.ต.วลิต กับ พ.ท.เกรียงศักดิ์ ได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วน พ.อ.ร่มเกล้า
ไม่ มีข้อมูลยืนยันว่าได้รับบาดเจ็บจากจังหวะนี้หรือไม่

แต่นาทีชีวิตยังไม่ผ่านพ้นไป เพราะมีกองกำลังไม่ทราบฝ่ายใช้อาวุธปืนยิงถล่มซ้ำเข้าไปอีก
จน พ.อ.ร่มเกล้า ได้รับบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ที่ น่ากังขาก็คือในสถานการณ์ชุลมุนวุ่นวาย เหตุใดกองกำลังไม่ทราบฝ่ายจึงเลือกเป้าได้อย่างแม่นยำยิ่ง!

นายทหารที่มีประสบการณ์ในสนาม ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่
ผู้ ชุมนุมทั่วไปหรือคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการทหารจะสามารถ แยกแยะออกว่าใครเป็นใคร
เพราะทหารที่ออกปฏิบัติการล้วนใส่ "ชุดฝึก" ซึ่งหากมองผ่านๆ ก็จะเหมือนๆ กันไปหมด
ยิ่งในช่วงเวลาแห่งความสับสน ยิ่งยากที่จะรู้ว่าใครเป็นใคร ใครเป็นนาย ใครเป็นลูกน้อง

ทหาร ที่อยู่ในจุดเกิดเหตุ ให้ข้อมูลว่าเห็นแสงเลเซอร์เป็น
ลำสีแดงพุ่ง ตรงมายังจุดที่นายทหารระดับสูง
นั่งกันอยู่ก่อนถูกถล่ม!

เสียงวิจารณ์ว่างานนี้คงไม่ใช่แค่การปะทะกันระหว่างทหารชุดรักษาความสงบกับ
ผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงจึงดังกระหึ่มในแวดวง "คนมีสี" หลายเสียงเชื่อว่านี่คือการ "ล็อคเป้ายิง"
โดยมีเงื่อนงำลึกลับซับซ้อน ยิ่งกว่าการเผชิญหน้ากันระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายต่อ ต้านรัฐบาล

ประการแรก พล.ร.2 รอ. คือหน่วยที่ปฏิบัติการสลายการชุมนุมบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง
ในเหตุการณ์ เมษาฯ เลือด เมื่อปี 2552 เป็นปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จอย่างแทบจะไร้ที่ติ
เพราะไม่มีผู้ใด เสียชีวิต ในขณะที่บางกลุ่มบางฝ่ายอยากให้มีการสูญเสียใจแทบขาด

และ พ.อ.ร่มเกล้า กับ พ.ท.เกรียงศักดิ์ ก็คือสองขุนพลที่ปฏิบัติการภาคสนามในวันนั้น
โดยมี พล.ต.วลิต เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด

ความพยายามตรวจสอบเพื่อค้นหาความจริงในเวลาต่อมา พ.อ.ร่มเกล้า คือ
กำลัง สำคัญของหน่วยที่เดินสายชี้แจง พร้อมเปิดหลักฐานทุกชนิด
เพื่อยืนยันว่า ปฏิบัติการที่สามเหลี่ยมดินแดงดำเนิน ไปตามขั้นตอนและกฎการปะทะทุกอย่าง
ไม่ มีการละเมิดสิทธิประชาชนผู้ชุมนุมเลยแม้แต่น้อย

บทบาทของ พ.อ.ร่มเกล้า ย่อมทำให้กลุ่มการเมืองบางฝ่ายไม่พอใจ...

ประการที่สอง การที่นายทหารทั้งสามล้วนเป็นสายเลือด "บูรพา พยัคฆ์" จาก พล.ร.2 รอ.
อาจทำให้พวกเขาตกเป็นเป้า เพราะ "บูรพา พยัคฆ์" คือ
กลุ่ม นายทหารที่ยึดกุมอำนาจแทบจะเบ็ดเสร็จในกองทัพบก ตั้งแต่หัวแถวอย่าง
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม พล.อ.อนุ พงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผบ.ทบ. ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าจ่อเก้าอี้ ผบ.ทบ.คนต่อไป

นอกจากนั้นยังมี พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ต่อแถวอยู่อีกคน และ พล.ต.วลิต
ก็คือนายทหารมือดีในกลุ่มที่กำลังก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญต่อ ไป..
.ทั้งหมด ล้วนเติบโตมาจากเส้นทางสายเดียวกันทั้งสิ้น

การเติบใหญ่ของกลุ่ม "บูรพาพยัคฆ์" ย่อมทำให้นายทหารจากหน่วยอื่นๆ ไม่พอใจ...

ปฏิบัติการรุนแรงที่สี่แยกคอกวัว กับลูกระเบิดและกระสุนปืนที่พุ่งตรงสู่เป้าหมายคือ
นายทหารหน่วยนี้อย่าง แม่น ยำ เป็นคำตอบที่คนในวงการฟันธงว่า
น่าจะเป็นฝีมือของ "คนมีสี" ด้วยกัน และน่าจะ "สีเดียวกัน"

นี่ ยังไม่นับแผนปฏิบัติ "ขอคืนพื้นที่" บริเวณโดยรอบเวที ชุมนุมเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
ที่ถูก ตั้งคำถามจากผู้มีประสบการณ์ว่า ทำกันอย่างนี้ได้อย่างไร
โดยเฉพาะการ เปิดปฏิบัติการในช่วงบ่ายถึงค่ำซึ่งยืดเยื้อโดยใช่เหตุ
ซ้ำยังสุ่ม เสี่ยงต่อการถูกโจมตีจากมือที่สามเป็นอย่างยิ่ง

"บิ๊กมีสี" บางคนถึงกับฟันธงว่างานนี้น่าจะมี "วางยา" และมี "ไส้ศึก" เสียด้วยซ้ำ...

ฤา กลุ่ม "บูรพาพยัคฆ์" กำลังถึงคราวอัสดง!

Sunday, April 11, 2010

ทหารลอยแพมาร์ค เมินสลายม็อบกลับกรม/แดงโหนศพตระเวนทั่วกรุง

By thaipost
Created 12 Apr 2553 - 00:00

"ขุนทหาร" ลอยแพ "อภิสิทธิ์" ลั่นไม่สลายม็อบไพร่อีก ชี้ 10 เมษาวิปโยคเพราะการเมืองแทรกจนสูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย สั่งทหารกลับกรมกองเหลือเพียงสถานที่สำคัญ พรรคร่วมรัฐบาลขย่มซ้ำ ยื่นเงื่อนไขแก้รัฐธรรมนูญ เจรจารอบ 3 หาทางออก "เทือก" ยอมฮาราคีรีเพื่อสังเวย "แดง" ได้ทีเตรียมโหนคนตาย นัดแห่ศพรอบกรุงบนถนนสำคัญ หวังประกาศศักดาทั่วโลก
การปะทะกันอย่างรุนแรงเมื่อวันเสาร์ของทหารและกลุ่มคนเสื้อแดงที่ทำให้มีผู้ เสียชีวิตถึง 21 คน และบาดเจ็บกว่า 800 คน ยังสร้างผลสะเทือนต่อกลุ่มผู้ชุมนุมและรัฐบาลอย่างต่อเนื่องในวันอาทิตย์
โดยบรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงทั้งที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศและ แยกราชประสงค์ ยังคงมีผู้ชุมนุมนั่งปักหลักฟังปราศรัยอยู่แต่ค่อนข้างบางตา ในขณะที่อารมณ์ของผู้ชุมนุมส่วนใหญ่มีสีหน้าเศร้าสลดใจอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่โดยรอบบริเวณการชุมนุมไม่ปรากฏทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนรักษาการณ์ แต่อย่างใด แตกต่างจากการ์ด นปช.ที่รักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดจำนวนมาก
และในการปราศรัยบนเวทีส่วนใหญ่แกนนำต่างกล่าวแสดงความเสียใจแก่ผู้ที่ได้รับ บาดเจ็บ เสียชีวิต รวมทั้งได้เชิดชูว่าเป็นผู้ต่อสู้เพื่อทวงประชาธิปไตยกลับคืนมา พร้อมทั้งประณามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยใช้คำว่า ทรราช และนายกฯ มือเปื้อนเลือด รวมทั้งมีการประกาศรายชื่อบุคคลที่สูญหายไปเป็นระยะๆ และได้กระตุ้นผู้ชุมนุมให้มาร่วมเวทีอย่างต่อเนื่องเพราะอาจมีการสลายการ ชุมนุมรอบ 2
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำคนเสื้อแดง ได้ยืนยันถึงเหตุการณ์เมื่อวันเสาร์ว่า ไม่ใช่การขอพื้นที่คืน แต่เป็นการปฏิบัติทางทหารเต็มรูปแบบ เป็นการเห็นแก่ได้และอำมหิตเกินไป จึงอยากฝากถามนายอภิสิทธิ์ว่า ต้องการให้ประชาชนเสียสละชีวิตอีกกี่ชีวิตท่านจึงจะสละคืนอำนาจให้ประชาชน ขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ยุบสภาทันที และออกนอกประเทศ หากดึงดันอยู่ต่อไปก็มีแต่จะเพิ่มจำนวนศพ
"ยืนยันปักหลักสู้โดยสันติวิธีต่อไปจนกว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ หากต้องการเอาพื้นที่คืน จะต้องการชีวิตคนเสื้อแดงอีกกี่คนขอให้บอกมา นายอภิสิทธิ์อยู่ในฐานะนายกฯ ไม่ได้อีกแล้ว หากไม่ตัดสินไม่ยุบสภาเราก็พร้อมนำร่างผู้เสียชีวิตตามไปเรียกร้องความ ยุติธรรม ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม เราก็ต้องไป" นายณัฐวุฒิกล่าว และว่า ในวันที่ 12 เม.ย. จะแห่ศพผู้เสียชีวิต 14 รายไปรอบกรุงเทพฯ เพื่อประกาศศักดาให้ชาว กทม. ประชาชนทั้งประเทศและทั่วโลกได้รับรู้
เขายังได้ปฏิเสธกรณีการเสียชีวิตจำนวนมากมีสาเหตุมาจากเอ็ม 79 ว่า ไม่ใช่แนวทางของกลุ่มคนเสื้อแดง และขอปฏิเสธความรับผิดชอบว่ากลุ่มคนสื้อแดงเป็นคนทำ ส่วนจะเป็นมือที่สามหรือสี่หรือไม่ ไม่ทราบ แต่ไม่ใช่ฝีมือของคนเสื้อแดง และขอเรียกร้องให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยไร้ความแค้นเข้ามาเกี่ยวข้อง

แห่ศพถนนหลักกรุงเทพฯ
นายขวัญชัย ไพรพนา แกนนำกลุ่มคนรักอุดร ระบุว่า หากนายอภิสิทธิ์ยังไม่ยอมยุบสภา ก็ต้องเพิ่มแรงกดดัน โดยอาจนำศพผู้ชุมนุมแห่ไปหน้าบ้านนายอภิสิทธิ์และบ้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อประจานกรณีทหารฆ่าประชาชน
ในช่วงค่ำ นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำคนเสื้อแดง ปราศรัยบนเวทีผ่านฟ้าฯ ยืนยันว่ากิจกรรมในวันที่ 12 เม.ย. เวลา 10.00 น.จะแถลงข่าว และจัดขบวนแห่สดุดีวีรชนใหญ่บนถนนสำคัญของกรุงเทพฯ แต่ยังไม่บอกจุดหมายปลายทาง
ในขณะที่ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ได้แสดงความคิดเห็นถึงเหตุการณ์เมื่อค่ำวันที่ 10 เม.ย.ว่า การที่ทหารออกมาปราบครั้งนี้ ถือเป็นอาชญากรสงคราม ต้องโทษตามกฎหมาย ซึ่งมีอายุความ 20 ปี ซึ่ง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ และจะเหมือนสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
"ความผิดของ ผบ.ทบ.คือใช้คนซุ่มยิงที่บนหลังคาตึกโรงเรียนสตรีวิทยา ซึ่งสาเหตุที่คนตายจำนวนมากเพราะพลซุ่มยิงได้ยิงลงมาใส่ประชาชนก่อน ทำให้กองกำลังไม่ทราบฝ่ายหรือนักรบโรนินยิงตอบโต้ บังเอิญลูกระเบิดเอ็ม 79 ลูกแรกที่ยิงเข้าไปตกเต็นท์ทหารข้างโรงเรียนสตรีวิทยาที่ใช้เป็นกองบัญชาการ รบครั้งนี้ ทำให้โดน พล.ต.วลิต โรจนภักดี ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.ร.2.รอ.) ซึ่งเป็นแม่ทัพในการทำศึกครั้งนี้บาดเจ็บสาหัสและโดนนายทหารชั้นสัญญาบัตร หลายคนก็บาดเจ็บ ทำให้การศึกครั้งนี้ไม่มีคนสั่ง ไม่มีแม่ทัพ ไม่มีคนบัญชา ทำให้ทหารปราชัยถอยออกไป" พล.ต.ขัตติยะระบุ
พล.ต.ขัตติยะกล่าวต่อว่า การเข้าตีของทหารปกติต้องทำก่อนสว่างอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ซึ่งการเข้าตีช่วงกลางคืนนั้นถือเป็นการกระทำที่ผิดวิธี ผบ.ทบ.ต้องตอบคำถามให้ได้ ทำไมเอาทหารมารบกับคนไทย รวมทั้งนายอภิสิทธิ์ก็ต้องยุบสภา เหตุการณ์ถึงจะสงบลง เพราะวันนี้คนเสื้อแดงยึดปืนได้หมด หากทหารจะเข้ามาสลายการชุมนุมอีกครั้งจะมีคนตายมากกว่าเก่าเป็นร้อยเท่า เพราะเขามีปืนกลมีปืนต่อสู้อากาศยานที่สามารถยิงเฮลิคอปเตอร์ได้
สอดคล้องกับนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รักษาการโฆษกรัฐบาล ที่กล่าวชี้แจงผ่านโทรทัศน์ทุกช่องในช่วงบ่ายว่า การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่จะให้กลับมายังที่ตั้งหรือหน่วยเพื่อปรับกำลังพล ตรวจสอบความพร้อม อุปกรณ์และอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ถูกขโมย ตรวจสอบบัญชีอาวุธที่หายไป และติดตามกลับคืนเข้ามา และขณะนี้มีการรวบรวมหลักฐานข้อเท็จจริงเบื้องต้น รวมทั้งภาพถ่ายจากทางหลายฝ่าย ส่งเข้ามาโดยทางศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จะดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงว่าอะไรเกิดขึ้นในห้วงเวลาเย็นและค่ำวันที่ 10 เม.ย.

แฉอาวุธสงครามเพียบ
"เบื้องต้นพบว่ามีการใช้แก๊สน้ำตาชนิดยิง และพบว่ามีระเบิดหลายชนิดทั้งเอ็ม 79 เอ็ม M 67 ปืนกล อาก้าหรือเอชเค หรืออาวุธที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเองเช่นไม้ การใช้ปืนกลยังได้พบการบันทึกภาพว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ใช่ทหารรวบ รวมอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมและมีปืนกลอยู่ด้วย ภาพต่างๆ เหล่านี้จะนำทยอยออกมาให้สาธารณชนรับทราบ" นายปณิธานกล่าว
ส่วน พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ทบ. ในฐานะโฆษก ศอฉ. กล่าวว่า ศอฉ.พร้อมรับการตรวจสอบ เพราะในที่ประชุมระดับผู้บังคับการทุกหน่วยต่างยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ทุกนายปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด ไม่มีการยิงเข้าใส่ประชาชนด้วยกระสุนจริง หรือทำในสิ่งที่เกินกว่าเหตุ
"เหตุการณ์ชุลมุน ทหารไม่ได้บุกเข้าหาผู้ชุมนุมก่อน แต่เกิดจากกลุ่มผู้ชุมนุมต้องการไล่ทหารให้ออกจากพื้นที่จึงเดินเข้าหาทหาร ซึ่ง ศอฉ.มีภาพบันทึกไว้หมด รวมถึงมีคนเห็นว่ามีการบยิงระเบิดและกระสุนยิงมาจากไหน" พ.อ.สรรเสริญกล่าว และว่า ศอฉ.ได้ให้มีการตรวจสอบอาวุธที่สูญหายและถูกยึดไปโดยด่วน เพราะเกรงว่าจะมีการนำไปสร้างสถานการณ์และโยนความผิดให้เจ้าหน้าที่

ทหารพ้อถูกส่งไปตาย
พ.อ.สรรเสริญยังกล่าวถึงการปฏิบัติการต่อไปว่า ต้องรอนโยบายจากรัฐบาล ซึ่งการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่จะเป็นไปตามหลักสากล และไม่ให้เกิดการสูญเสียชีวิต แต่ผู้ชุมนุมบางส่วนใช้อาวุธกระสุนจริง ระเบิดเอ็ม 79 เอ็ม 67 หากเป็นเช่นนี้เท่ากับว่าเราส่งเจ้าหน้าที่ไปได้รับบาดเจ็บ เท่ากับว่าส่งไปตาย จึงต้องมีความชัดเจนในการดำเนินการว่าจะให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างไร
สำหรับนายทหารระดับสัญญาบัตรที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากเหตุปะทะกันที่บริเวณ แยกคอกวัว อาทิ พล.ต.วลิต ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.ร 2 รอ.) ได้บาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดเอ็ม 79 ส่งผลให้ขาหัก 3 ท่อน, พ.อ.เกรียงศักดิ์ นันทโพธิเดช ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ (ร.12 พัน 2) ถูกสะเก็ดระเบิดเข้าที่สมองซีกขวา จนทำให้ต้องมีการผ่าตัดเปิดสมอง และ พ.ท.นพสิทธิ์ สิทธิพงศ์โสภณ ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ (ม.พัน 3 รอ.) โดนสะเก็ดระเบิดส่งผลให้รับบาดเจ็บที่ขาทั้งสองข้าง
ในขณะที่สื่อต่างประเทศหลายสำนักก็มีภาพข่าวบุคคลถืออาวุธสงคราม โดยเฉพาะภาพสำนักข่าวอัลจาซีเราะห์ได้เผยแพร่ภาพชายสวมชุดดำ ใส่หมวกไหม พรม ถืออาวุธปืนอาก้าและเอ็ม 16 ในขณะที่เอ็นบีทีก็ได้เผยแพร่การยิงกระสุนจากบนตึก รวมทั้งการยิงปืนอาก้าใส่เจ้าหน้าที่ด้วย
และในระหว่างการชุมนุมในวันที่ 11 เม.ย.นั้น กลุ่มผู้ชุมนุมก็ได้มีการเคลื่อนไหวไปยัง 2 พื้นที่ โดย นปช.ประมาณ 400 คนได้ไปปิดล้อมบ้านพักนายบรรหาร ศิลปอาชา แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 57 เพื่อเรียกร้องให้ถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล และได้มอบจดหมายเปิดผนึก โดยจะมารอคำตอบภายใน 3 วัน ซึ่งก็ไม่มีเหตุรุนแรงแต่อย่างใด

ยึด"พีทีวี"คืนอีกรอบ
ส่วนอีกแห่งหนึ่งนั้น นปช.กว่า 1,000 คน นำโดยนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ ส.ส.ปทุมธานี พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ แกนนำ นปช. ได้เคลื่อนขบวนมาปิดล้อมสถานีบริการภาคพื้นดินดาวเทียมไทยคม อ.ลาดหลุมแก้ว เพื่อเรียกร้องให้มีการเปิดสัญญาณออกอากาศของสถานีโทรทัศน์พีเพิลแชนแนล ท่ามกลางการตรึงกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 300-400 นาย โดยผู้ชุมนุมที่ทนรอการเจรจาไม่ไหวได้มีการพังรั้วเข้าไป แต่ไม่มีเหตุรุนแรงแต่อย่างใด และในที่สุดก็สามารถเจรจาให้เชื่อมต่อสัญญาได้ โดยกลุ่มคนเสื้อแดงยังขอปักหลักเฝ้าดูสถานการณ์ต่อไปเพื่อป้องกันทหารกลับมา ตัดสัญญาณ
ในขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมอยู่ที่ลาดหลุมแก้วได้เข้ายึดรถถ่ายทอดของโม เดิร์นไนน์ทีวีและทีวีไทย รวมทั้งกล้อง เนื่องจากระบุว่าไม่พอใจที่รายงานข่าวไม่เป็นกลาง โดยบอกว่าจะนำกลับไปบริเวณการชุมนุมสี่แยกราชประสงค์ แต่เมื่อเจรจาพักใหญ่กลุ่มคนเสื้อแดงก็คืนให้ทั้งหมด ซึ่งเหตุการณ์การไม่ลงรอยกับสื่อยังเกิดขึ้นบนเวทีผ่านฟ้าฯ อีก เมื่อนายสมชาย ไพบูลย์ แกนนำ นปช. ได้ปราศรัยบนเวทีโจมตีสื่ออย่างดุเดือด รวมทั้งขับไล่ไม่ให้ทำข่าว ทำให้สื่อมวลชนพร้อมใจกันบอยคอต โดยระหว่างการออกจากพื้นที่รถถ่ายทอดของช่อง 3 ก็ถูกปาอิฐใส่จนทำให้กระจกแตกและคนขับได้รับบาดเจ็บ ซึ่งเรื่องดังกล่าวทำให้นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช.ต้องรีบขึ้นเวทีชี้แจงที่ราชประสงค์ว่า เกิดจากอารมณ์ค้าง และได้เรียกร้องอย่าทำร้ายสื่อสมวลชน เพราะเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ และสื่อก็เป็นพันธมิตรของคนเสื้อแดง
ยังมีเหตุที่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี เมื่อคนเสื้อแดงกว่า 1,000 คน พร้อมไม้หน้าสามได้ยืนกระจายตัวอยู่บนสะพานและเชิงสะพานเมื่อมีข่าวว่าทหาร จะมานำรถที่ถูกทำลาย 17 คันบนสะพานดังกล่าวกลับคืน แต่ก็ไม่มีความเคลื่อนไหวแต่อย่างใด โดยระหว่างนั้นกลุ่มคนดังกล่าวก็ได้ทุกทำลายกระจกและรถทุกคันจนไม่สามารถใช้ การได้ก่อนเดินทางกลับสะพานผ่านฟ้าฯ
สำหรับกรณีนายทหาร 4 นายที่ถูกกลุ่มคนเสื้อแดงจับตัวไปนั้น เมื่อเวลา 14.30 น. พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 ได้เดินทางมารับที่บริเวณเต็นท์ด้านหลังเวทีปราศรัยสะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยมีนายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย และนายพายัพ ปั้นเกตุ แกนนำกลุ่ม นปช.เป็นผู้มอบส่ง พร้อมกับทำบันทึกว่าทหารทั้ง 4 นายไม่ได้ถูกทำร้ายร่างกายเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ในเวลา 18.00 น. นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายณัฐวุฒิ พร้อมแกนนำ นปช. เดินทางมาขึ้นเวทีสะพานผ่านฟ้าฯ เพื่อร่วมพิธีศพของผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะ โดยมีการเคลื่อนศพจากสะพานผ่านฟ้าฯ ไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งมีรถจักรยานยนต์บีบแตรนำขบวนเคลื่อนศพ โลงแรกเป็นโลงสีขาวคลุมธงชาติ อีก 2 โลงเป็นสีแดง โดยเคลื่อนศพทั้งสามไปตั้งบนอนุสาวรีย์ฯ ส่วนโลงสีแดงอีก 14 โลง วางเรียงอยู่บนฐานอนุสาวรีย์ ฯ จากนั้นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ ได้เป็นประธานในพิธีสวดพระอภิธรรม
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ศอฉ. ระบุถึงเหตุการณ์ว่า การชุมนุมมีภาพซ้อนหลายมิติ แฝงกันมาหลายกลุ่ม ซึ่งจะทราบกันหรือไม่ตอบไม่ได้ แต่ว่าวันข้างหน้าในการสืบสวนก็จะชัดเจนเอง คนที่แฝงมามีอาวุธสงคราม ทั้งปืนอาก้า เอ็ม 16 เอ็ม 79 พอได้จังหวะยิงเข้ามาใส่ ซึ่งได้ติดตามดูจากการถ่ายทอดสื่อมวลชน และที่ประชาชนส่งมา บางภาพยิงถูกผู้ชุมนุมกันเอง บางภาพยิงถูกประชาชนที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย บางภาพก็ยิงทหาร มันทำให้เกิดการสูญเสีย ในฐานะคนที่รับผิดชอบขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับครอบครัวผู้ที่ต้องสูญ เสีย ไม่ว่าพลเรือน ทหาร และผู้สื่อข่าว

เทือกชี้โหดเหี้ยมอำมหิต
"เหตุการณ์เมื่อวันเสาร์เกินการคาดการณ์กว่าที่คิดไว้จริงๆ ผมไม่คิดว่าคน ไทยด้วยกันจะโหดเหี้ยมอำมหิตกันอย่างนี้ และทำร้ายพี่น้องร่วมชาติ ทำร้ายประเทศ ก็น่าเสียใจ" นายสุเทพกล่าว
ถามว่ามีการตรวจสอบเชิงลึกอาวุธที่นำมาจากสมุทรปราการหรือไม่ นายสุ เทพกล่าวว่า จากการข่าวบอกว่ามีมาจากสมุทรปราการและสุรินทร์บ้าง โดยได้ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปสอบสวนแล้ว นายสุเทพยังยืนยันถึงสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาลว่า เข้าใจกันดี เพราะทุกขั้นตอนได้ชี้แจงให้รับทราบและปรึกษาหารือกันตลอดแม้ในวันที่ประกาศ พระราชกำหนดฯ เช่นเดียวกับผู้นำเหล่าทัพที่เข้าใจกันดีอยู่ด้วยกันตลอดเวลา
"ไม่มีปัญหา ถ้าทำอะไรให้ประเทศคืนสู่ความสงบความเรียบร้อยได้ ยินดีไม่มีปัญหา" นายสุเทพตอบคำถามเรื่องหากต้องเสียสละเพื่อเคลียร์กรณีนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่นายสุเทพกล่าวแสดงความเสียใจที่มีทหารเสียชีวิตนั้น นายสุเทพมีน้ำตาคลอเบ้า และแสดงอาการเสียใจอย่างสุดซึ้ง
ท่ามกลางข่าวเหตุการณ์การปะทะนั้น ก็มีข่าวลือเกิดขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้เสียชีวิตลงแล้ว ซึ่งนายพายัพ ชินวัตร น้องชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ออกมาปฏิเสธ โดยระบุว่าเป็นเพียงข่าวลือ เพราะยังมีสุขภาพแข็งแรง รวมทั้งได้ปฏิเสธข่าวการเป็นมะเร็งด้วย ในขณะที่เวทีความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงก็มีประกาศข่าวการเสียชีวิตของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเช่นกัน

ทหารลอยแพมาร์ค
แหล่งข่าวนายทหารระดับสูงกล่าวว่า การปะทะเมื่อวันที่ 10 เม.ย. จนเกิดการสูญเสียประชาชนและทหารนั้น ถือเป็นการประเมินสถานการณ์ผิดพลาดของรัฐบาล เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ต้องการให้กำลังเจ้าหน้าที่ดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย จึงสั่งให้กองทัพยึดคืนพื้นที่สะพานผ่านฟ้าฯ โดยได้ย้ำไม่ให้กำลังทหารที่ออกปฏิบัติหน้าที่ใช้อาวุธปืนและกระสุนจริง แต่ให้มีเพียงโล่ กระบอง อาวุธปืนที่บรรจุกระสุนยาง แต่ผู้ที่สามารถถือปืนบรรจุกระสุนจริงมีเพียงนายทหารระดับผู้บังคับกองพัน และผู้บัญชาการกองพลเท่านั้น ทำให้ผู้ชุมนุมไม่มีความเกรงกลัวและทำให้การปฏิบัติหน้าที่ไม่บรรลุตามเป้า หมาย
"นายทหารระดับสูงของกองทัพคุยกันแล้วว่า หากมีคำสั่งให้ทหารออกไปปฏิบัติภารกิจในลักษณะดังกล่าวอีก คงต้องปฏิเสธ เพราะเห็นตรงกันว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความผิดพลาด นายกฯ ต้องการบังคับใช้กฎหมาย แต่สภาพการทำงานไม่สามารถคุมเหตุการณ์ได้ โดยหากจะให้ทหารเข้าคุมพื้นที่ก็ต้องให้อาวุธเขาเพื่อทำให้น่าเกรงขาม แต่กองทัพยังคงทำหน้าที่เป็นกลไกของรัฐบาล ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองจะหาทางออกอย่างไร คงต้องปล่อยให้ฝ่ายการเมืองแก้ไขวิกฤติเอง ซึ่งขณะนี้ผู้บัญชาการทหารบกได้สั่งให้ทหารกลับเข้ากรมกองแล้ว" นายทหารระดับสูงกล่าว
แหล่งข่าวบอกด้วยว่า กองทัพไม่ได้ส่งสัญญาณให้นายกฯ ยุบสภา หรือลาออก แต่ส่งสัญญาณว่าเจ้าหน้าที่ทหารจะไม่ออกไปปฏิบัติภารกิจเหมือนวันที่ 10 เม.ย.อีก และ ผบ.เหล่าทัพได้เสนอให้ใช้กำลังตำรวจไปดูแลบริเวณการชุมนุมที่บริเวณผ่านฟ้า ลีลาศเท่านั้น ส่วนทหารจะดูแลสถานที่ราชการสำคัญเท่านั้น โดยเฉพาะพื้นที่ล่อแหลมสุ่มเสี่ยงทั้งทำเนียบรัฐบาล อาคารรัฐสภา สวนจิตรลดา โรงพยาบาลศิริราช บ้านพัก พล.อ.เปรม
แหล่งข่าวคนเดิมกล่าวว่า สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) รวมถึงหน่วยข่าวทางด้านการทหาร ได้รายงานต่อที่ประชุม ศอฉ.แล้วว่าจะมีกลุ่มติดอาวุธปะปนเข้ามาก่อเหตุ แต่รัฐบาลไม่ฟังโดยเฉพาะนายกฯ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน่าจะมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าแล้ว เพราะทุกอย่างเข้าทางกลุ่มคนเสื้อแดงทั้งหมด
"วันนี้ทุกฝ่ายจะต้องมาเจรจาทำสัญญาประชาคมด้วยกันว่า หากล้างไพ่ไปแล้วทุกฝ่ายจะต้องจบ และยอมรับสภาพต้องไม่มีการเดินขบวนประท้วงกันเหมือนแต่ก่อน แต่หากไม่ยอม กันบ้านเมืองก็จะเกิดความวุ่นวายไม่มีวันจบ ส่วนการปฏิวัติรัฐประหารคงยาก แม้ว่ากองทัพจะมีแนวความคิดเพื่อยุติปัญหา แต่ถ้าทำแล้วผลเสียจะตามมาเยอะ โดยเฉพาะการลุกขึ้นมาฆ่ากันของคนไทย" แหล่งข่าวระบุ
ในเวลา 19.30 น. นายสุเทพได้เดินทางไปยังบ้านพักของนายบรรหารเพื่อหารือกับแกนนำพรรคร่วม รัฐบาลถึงสถานการณ์การเมือง โดยพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 พรรค คือ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคภูมิใจไทย และพรรคกิจสังคม ได้ยื่นเงื่อนไขให้แก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 มาตราที่ว่าด้วยเขตเลือกตั้ง และมาตรา 190 ตามที่พรรคร่วมรัฐบาลได้ลงชื่อร่วมกันไปแล้ว โดยไม่ต้องทำประชามติ โดยให้เวลาตัดสินใจ 1-2 วันนี้ หากยังไม่มีอะไรก็อาจมีการทบทวนเรื่องการร่วมรัฐบาล นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พูดคุยถึงผลโพลล์ที่ประชาชนต้องการให้มีการเจรจา รอบ 3 ซึ่งทุกพรรคก็เห็นดีด้วย
ขณะที่นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล กรรมการที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวว่า รัฐบาลควรหาทางคลี่คลายสถานการณ์ โดยต้องเร่งพิสูจน์หาความจริงให้ปรากฏแก่สังคมโดยเร็ว ซึ่งนายกฯ ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างน้อย ส่วนจะรับผิดชอบ อย่างไรนั้นไม่สามารถบอกได้
นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวตอนหนึ่งในการบรรยายพิเศษที่เสถียรธรรมสถานว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเตือนอยู่ตลอดเวลาว่า อย่าพังบ้าน ซึ่งเวลานี้กำลังจะพังบ้านกันอยู่แล้ว ใครจะชนะช่างหัวมันแต่บ้านพังแล้ว ถนอมๆ กันหน่อย เพราะเรื่องมันก็มีอยู่แค่นี้ เอาธรรมะเข้าจับ อย่าใช้แต่อารมณ์ เหตุการณ์เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ตั้งอยู่บนความโกรธ สุดท้ายคนก็ล้มตายไป และยังตอบไม่ได้เลยมันจะจบอย่างไร
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว แต่มีพ่อแม่คนไหนที่เห็นลูกตีกันแล้วมีความสุข ลูกไม่ดียังพอทนไหว ลูกทรพีพ่อแม่ยังทนได้ แต่ลูกตีกันผมว่าพ่อแม่คนไหนก็ทุกข์ทั้งนั้น ทุกข์ที่สุดของพ่อแม่คือเห็นพี่น้องตีกัน ถ้าถามจิตใจพระองค์ท่านตอนนี้ ผมว่าพระองค์ทุกข์ที่สุด เพราะฉะนั้นอย่าโกรธกันเลย โกรธเมื่อไรประเทศพังเมื่อนั้น" นายสุเมธกล่าว.

"พ.อ.ร่มเกล้า"เหยื่อ คนเถื่อน ถูกสั่งตายหรืออุบัติเหตุ!

โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 11 เมษายน 2553 14:33 น.

พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม รอง เสธ.พล.ร.2 รอ. ค่ายจักรพงษ์ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี จากกองกำลังบูรพา ที่เสียชีวิต ในเหตุการณ์ปะทะระหว่างกำลังทหารกับกลุ่มผู้ชุมนุม เมื่อคืน(10 เม.ย.) ที่ผ่านมา ยังคงเป็นเรื่องที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่า พ.อ.ร่มเกล้า นายทหารกล้าผู้นี้ ถูกคนเถื่อนชี้เป้าให้ยิง หรือ ถูกลูกหลงจากกระสุนจริงของคนเถื่อน

พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 25 (ตท.25) นักเรียนนายร้อยจปร.รุ่น 36 เพื่อนๆเรียกชื่อเล่นกันว่า"เปา"ก่อนมาดำรงตำแหน่งที่ พล.ร.2 รอ. เป็นผบ.ฉก.35 (ยศ พ.ท.) ดำเนินการด้านยุทธศาสตร์ในพื้นที่ อ.สุคิริน และ อ.แว้ง จ.นราธิวาส เป็นเวลากว่า 6 เดือน โดยปฏิบัติการเดินเท้า เข้าทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

พ.อ.ร่มเกล้า บอกถึงการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ในครั้งนั้นว่า ตั้งแต่ลงพื้นที่ 6 เดือน กระสุนไม่เคยออกจากกระบอกแม้แต่นัดเดียว

"การแก้ไขปัญหามี 2 อันดับ คืออันดับแรกแก้ที่ปลายเหตุ หมายความว่าให้คนไทยพุทธป้องกันการละทิ้งถิ่นฐาน และทำให้พี่น้องมุสลิมกลาง ให้ความร่วมมือกับรัฐ ส่วนอันดับสอง คือการแก้ที่สาเหตุ เป็นการแก้ไขในระยะยาว ที่ต้องทำให้คนในพื้นที่เกิดความรู้สึกต่อต้านกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ผมเข้าไปในพื้นที่ ใช้วิธีเข้าไปคุยกับทุกหลังคาเรือน หากเรารู้ว่าคนนี้ น่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรง แต่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ เราจะเข้าไปคุยกับเขาบ่อยๆ ซึ่งสามารถทำให้ลดการเกิดเหตุรุนแรงขึ้นได้เนื่องจาก เมื่อเราเข้าไปพูดคุยเป็นมิตรกับเขาบ่อยๆ เขาจะเกรงใจ เราจะหยุดการฆ่าด้วยการฆ่าไม่ได้"

"ผมเดินเข้าไปบอกถึงความเป็นคนไทยกับชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นคนไทยเหมือนกัน ผมเดินเข้าไปบอกชาวบ้านว่า ผมเป็นจีน มาจากซัวเถา เพราะแม่ผมเป็นคนจีน คุณมาจากไหนไม่รู้ พูดภาษายาวี แต่เราเป็นคนไทยด้วยกัน เขาก็งง แล้วถามผมว่าแล้วคนไทยคืออะไร ผมก็บอกไปว่าก็พวกเราทั้งหมดคือคนไทย บางทีผมยังต้องเอาประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนเรศวร ลงไปบอกกับพี่น้องในพื้นที่ว่า นักรบจนถึงชนชั้นขุนนางในอดีตก็มีคนมุสลิม เราร่วมรบกันมา อยู่ร่วมกันมานานแล้ว ปลุกความรักชาติให้เขา" ทั้งหมดเป็นแนวความคิดและแนวปฏิบัติของ พ.อ.ร่มเกล้า เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผบ.ฉก.35 ในพื้นที่ อ.สุคิริน และ อ.แว้ง จ.นราธิวาส

หลังเข้าดำรงตำแหน่งรอง เสธ.พล.ร.2 รอ. แล้ว ได้ปฏิบัติภาระกิจสำคัญ คือการเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง เมื่อช่วงเมษาเลือดปี 2552 โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ แต่ภายหลัง ฝ่ายตรงข้ามพยายามปลุกปั่นประชาชนว่า ทหารฆ่าประชาชน ทำให้ พ.อ.ร่มเกล้า ต้องเดินสาย นำวิดีโอบันทึกภาพเคลื่อนไหว ที่เป็นทั้งการเคลื่อนกำลังพล การตั้งเป็นแนวกั้น ฉายเพาเวอร์พอยต์ อธิบายการทำงานของทหารถึงการสลายชุมนุม ที่มีการเจรจากับผู้ชุมนุม ทั้งจากทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ของ กทม. รวมถึงชาวบ้านย่านแฟลตดินแดง โดยย้ำว่า การทำงานของทหารเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินทุกประการ ซึ่งการเดินสายอธิบายถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เขาได้รับฉายาจากฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะนายจักรภพ เพ็ญแขว่า เป็น"เสธ.เพาเวอร์พอยต์"

นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตุว่า...พ.อ.ร่มเกล้า คือนายทหารที่เคยเป็นผู้แทนของกองทัพบก เข้าให้ข้อมูลเรื่องการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่บริเวณสามเหลี่ยม ดินแดง เมื่อเดือนเมษายน 2552 ต่อคณะอนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์บริเวณแยกดินแดง ซึ่งเป็น อนุกรรมการฯที่อยู่ในคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุสลายการชุมนุมของ รัฐสภา ที่มีการแต่งตั้งให้ วุฒิสภา เป็นประธานตรวจสอบในแต่ละ คณะอนุกรรมการ

การเข้าชี้แจงของ พ.อ.ร่มเกล้า ในวันนั้น พ.อ.ร่มเกล้า ถือเป็นทหารที่ได้แสดงความเห็นอย่างชัดเจนว่า การปฎิบัติการในเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน ไม่มีพวกแดงเทียม ในการออกมาปฎิบัติการ ตามที่กลุ่มคนเสื้อแดง พูดเพื่อให้พวกตนพ้นผิด พร้อมกับยืนยันว่า กลุ่มมือที่สาม ไม่มีเด็ดขาด แต่เป็นกลุ่มคนเสื้อแดง ที่แยกกันทำงาน โดยมีเป้าหมายเดียวกัน

ที่สำคัญ พ.อ.ร่มเกล้า ยังสามารถแสดงพยานหลักฐานต่างๆประกอบการชี้แจง มีน้ำหนักเพียงพอ ทำให้ อนุกรรมการฯเชื่อว่าการปฎิบัติหน้าที่ในการสลายการชุมนุมของทหารในวันนั้น ได้ทำอย่างถูกต้องตามหลักสากล ทำให้ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย และ นายชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็น คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว และร่วมรับฟังการชี้แจงในวันนั้น ถึงกับแสดงอาการไม่พอใจการชี้แจงของ พ.อ.ร่มเกล้า เป็นอย่างยิ่ง

จากความไม่พอใจการชี้แจง ทั้งนายวรวัจน์ และนายชลน่าน ได้พูดด้วยถ้อยคำในทำนองไม่ให้เกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นทหารของ พ.อ.ร่มเกล้า โดยเฉพาะ นายชลน่าน พูดออกมาว่า"คุณไม่เหมาะที่จะเป็นทหารแล้ว"ทำให้อนุกรรมการ ที่เข้าร่วมรับฟังในวันนั้น ถึงกับรู้สึกแปลกใจ และก็ได้รับรู้กันโดยทั่วไปของบุคคลที่เข้าร่วมประชุมในวันนั้น

นอกจากนั้นในการเข้าให้ข้อเท็จจริงในวันดังกล่าว นายวรวัจน์ พยายามที่จะสอบถามถึงผู้สั่งการที่แท้จริง โดยตำหนิฝ่ายทหารว่าไม่ควรโบ้ยไปกันไปมา ทำให้ พ.อ.ร่มเกล้า กล่าวตอบด้วยน้ำเสียงขึงขังว่า "ผมพูดตรงๆ ไม่เคยโบ้ยใคร ผมเป็นทหารไม่ใช่นักการเมือง"

อย่างไรก็ตาม การเข้าชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงบริเวณสามเหลี่ยมดิน แดง ไม่ใช่เฉพาะ พ.อ.ร่มเกล้า แต่ยังมีลูกน้องของ พ.อ.ร่มเกล้า ได้เข้าชี้แจงในเวลาต่อมา โดยส่วนใหญ่ ยืนยันเหมือนกับ พ.อ.ร่มเกล้า ว่าการปฎิบัติงานของทหารได้ทำถูกต้องตามขั้นตอน ตามหลักสากล ดังนั้น จึงทำให้ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ทั้ง 2 ผูกใจเจ็บว่า คณะทหารที่เข้าชี้แจง คือฝ่ายตรงข้ามของคนเสื้อแดง

จากแผนปฎิบัติการทั้งบนดินและใต้ดินของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อเดือน เมษายน 2552 กับแผนปฎิบัติการณ์ในเดือนเมษายน 2553 เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ แผนปฎิบัติการณ์ในครั้งนี้ กลับเข้มข้นขึ้น ดังนั้น พ.อ.ร่มเกล้า ถูกยิงบริเวณศีรษะจนเสียชีวิต โดย พ.อ.พีระพล ปกป้อง ผอ.กองอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ระบุว่า มีทหาร 2 นาย เสียชีวิตที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า คือ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม รอง เสธ.พล.ร.2 รอ. ค่ายจักรพงษ์ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี เนื่องจากมีบาดแผลฉกรรจ์บริเวณศีรษะและลำตัวลักษณะถูกยิงหลายนัด ส่วนทหารอีก 1 นายที่เสียชีวิต คือ พลทหารสิงหา อ่อนทรง มีบาดแผลถูกยิงบริเวณอกซ้าย 1 นัด นอกจากนั้น ยังมีทหารได้รับบาดเจ็บสาหัสอีก 20 นาย ในจำนวนนี้ รวมทั้ง พล.ต.วลิต โรจนภักดี ผบ.พล.ร.2 รอ. มีบาดแผลถูกยิงบริเวณขาซ้ายด้วย

แม้วันนี้ จะยังไม่มีการยืนยันการเสียชีวิตที่แท้จริงก็ตามที แต่เป็นไปได้หรือไม่ ที่แผนขั้นแตกหักครั้งนี้ จะเป็นการชี้เป้าให้ยิง อีกทั้งที่น่าสังเกตุ ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ ก็เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ พ.อ.ร่มเกล้า และเขาก็คือทหารที่เข้าชี้แจงต่ออนุกรรมการดังกล่าว

การสูญเสีย พ.อ.ร่มเกล้า ทหารกล้าในครั้งนี้ รัฐบาล และ ผู้เกี่ยวข้อง จะต้องพิสูจน์ทราบให้ได้ว่า ตายเพราะอุบัติเหตุจากการสลายการชุมนุม หรือ ตายเพราะเป็นการชี้เป้าให้ยิงของกลุ่มคนร้าย เพราะในอดีตหลักฐานการชี้แจงของ พ.อ.ร่มเกล้า ได้ถูกบันทึกไว้เป็นหลักฐาน หากรัฐบาลไปขอคำบันทึกในครั้งนั้น มาประกอบการพิสูจน์ทราบการตายของ พ.อ.ร่มเกล้า ก็น่าจะมีประโยชน์ หรือ อาจจะนำไปสู่ การจับกุมคนสั่งตายในครั้งนี้

อย่างไรก็ดี มีรายงานว่า ทหาร พล.ร.2 รอ. ค่ายจักรพงษ์ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี เชื่อว่า การเสียชีวิตของพ.อ.ร่มเกล้า ในครั้งนี้ น่าจะมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.2552 ที่พวกเขาเชื่อว่า พรรคพวกของพวกเขาล้มหายตายจากไปจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้มีการพุ่งเป้าและหมายหัว"ผู้พันเปา" กับทหารจาก จ.ปราจีนบุรีเป็นพิเศษ จนกระทั่งกองทัพต้องสูญเสียพ.อ.ร่มเกล้า ไป ส่วนจะเป็นการ"ชี้เป้า"ให้เก็บพ.อ.ร่มเกล้าหรือไม่นั้น พยานหลักฐานและเวลาในอนาคตจะเป็นเครื่องพิสูจน์

Saturday, April 10, 2010

หางแดงจี้"มาร์ค"ยุบสภาเดินทางออกนอก ประเทศ-ปฏิเสธเฉยไม่ได้ใช้เอ็ม79ถล่มทหาร

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 เมษายน 2553 12:24 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาด ใหญ่ขึ้น
ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ


แกนนำไพร่แดง ย้ำให้ "มาร์ค" ยุบสภา พร้อมเดินทางออกนอกประเทศทันที โยนเหตุปะทะให้นายกรัฐมนตรีรับผิดชอบคนเดียว ปฏิเสธหน้าตาเฉยไม่ได้ใช้ระเบิด เอ็ม 79 ถล่มทหาร อ้างไม่ใช้วิธีของคนเสื้อแดง พร้อมปล่อยข่าวทหารเตรียมปฏิวัติ แต่ ผบ.สูงสุดไม่เอาด้วย "จตุพร" เผย "พ่อแม้ว" โทรฯหาบอกสะเทือนใจกับเหตุการณ์ ให้ตัดสินมใจเองจะสู้ต่อหรือหยุด

นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ แกนนำ นปช.หรือกลุ่มคนเสื้อแดงแถลงข่าวลำดับเหตุการณ์การปะทะระหว่างทหารและผู้ ชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว จนทำให้ตนต้องเดินทางไปที่เวทีผ่านฟ้า และประกาศขอเจรจากับผู้ที่มีอำนาจในรัฐบาล และผู้ที่มีอำนาจในกองทัพ จนทำให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้โทรศัพท์มาหาตน เพื่อพูดคุยและสุดท้ายได้มีการหยุดยิง แต่ยืนยันว่า ไม่ได้มีการพูดคุยในเรื่องยุบสภา และหลังจากมีการเจรจาจึงทำให้เหตุรุนแรงยุติลง

นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ข้อเรียกร้องที่ให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยุบสภาก็ยังมีอยู่ และขอให้ยุบสภาตอนนี้และเดินทางออกนอกประเทศไป เพราะตอนนี้ข้อเท็จจริงเกิดขึ้น ก็ต้องมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย และมีการชำระความจริงบันทึกในประวัติศาสตร์ ว่าประชาชนใช้เพียงมือเปล่า เรื่องนี้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบ และเราจะรวบรวมภาพข่าวทั่งหมด เพื่อมาประมวลความจริง และหากประชาชนคนใดอยู่ในเหตุการณ์ มีภาพข่าวหรือคลิปวีดีโอก็สามารถมามอบที่หลังเวทีได้ เราจะนำความจริงมาเปิดให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับรู้

อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้มีข่าวตลอดว่าจะมีการัฐประหาร แต่ก็ไม่เกิดขึ้นและได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ซึ่งกลุ่มเสื้อแดงจะยังปักหลักที่สะพานผ่านฟ้า ลีลาศ และที่แยกราชสงค์ต่อไป

"วันนี้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ ไม่มีความชอบธรรมในการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และไม่มีความชอบธรรมที่จะขอยึดพื้นที่คืน คำกล่าวอ้างของรัฐบาลฟังไม่ได้ เพราะที่ผ่านมานายกฯยืนยันมาตลอด ว่า พื้นที่ที่ผ่านฟ้าชุมนุมได้ แต่ไม่ให้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์ แต่ปรากฎกับมีการนำอาวุธสงครามไปใช่ที่สะพานผ่านฟ้าฯ ทำอย่างนี้หมายความว่าอย่างไร รัฐบาลใช้ปฏิบัติการทางทหารอย่างเต็มรูปแบบ รัฐบาลคงประเมินสถานการณ์แล้วว่า ที่ผ่านฟ้าคนน้อย ที่แยกราชประสงค์คนเยอะ จึงทำให้ไปปฏิบัติการที่ผ่านฟ้าแทน จึงอยากถามว่า จะต้องให้ประชาชนเสียสละอีกกี่ชีวิต ถึงจะคืนอำนาจให้กับประชาชน เพราะวันนี้นายกฯ นั่งอยู่บนซากศพและเลือดของประชาชน จึงขอให้คืนอำนาจให้กับประชาชน"

นายณัฐวูฒิ กล่าวว่าวันนี้คงต้องถามหาสำนึกของนายกรัฐมนตรี ที่อย่าใช้เพียงแค่วาทะศิลป์ทางคำพูด แต่ไม่รับผิดชอบใดๆ มาพูดว่าทหารไม่ได้ใช้กระสุนจริงเรื่องนี้ไม่ควรมาพูดกันแล้ว แต่ต้องพูดว่านายกฯ จะตัดสินใจอย่างไร ไม่เช่นนั้น ก็จะมีผู้ที่เสียสละชีวิตอยู่ตลอดเวลา จึงขอเรียกร้องให้คืนอำนาจให้ประชาชนด้วยการยุบสภาตั้งแต่วันนี้

"ผมขอพูดถึงทหารใหญ่ในกองทัพว่า รู้สึกเสียใจกับเจ้าหน้าที่ทหารที่เสียชีวิต แต่ข่าวที่ออกมามีการยิง เอ็ม 79 เข้าไป ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่วิธีการของคนเสื้อแดง ดังนั้นขอให้ทุกคนรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น นายกฯ เป็นทรราชย์ จะวันนี้หรือพรุ่งนี้ก็หยุดเรียกการเป็นทรราชย์ไม่ได้"

ด้านนายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ จะต้องแสดงความรับผิดชอบ เพราะเป็นฆาตกรมือเปื้อนเลือด ส่วนที่มีรศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้ประสานงาน คณาจารย์ 303 คน จาก 14 สถาบัน เรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการกลางนั้น คงเป็นไปไม่ได้ เพราะพวกนี้เป็นพวกนายอภิสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อคืนนี้ทางแกนนำได้ยินมาตลอดว่า จะมีความพยายามทำให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร แต่วงในข่าวทางกองทัพบอกว่า มีทหารระดับสูงหลายคนไม่เห็นด้วย เช่น พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ระบุว่า คนเสื้อแดงไม่ได้มีปัญหากับกองทัพ แต่มีปัญหากับรัฐบาล ซึ่งวันนี้ คนเสื้อแดงจะติดตาม ข่าวว่าจะมีการล้อมปราบอีกหรือไม่ทั้ง 2 เวที

นายจตุพร กล่าวด้วยว่าตนได้คุยกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อคืนที่ผ่านมาซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ ได้ติดตามสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นของคนเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าฯและ ได้แสดงความเสียใจและสะเทือนใจมาก เมื่้อถามว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ได้มีการระบุหรือไม่ว่าจะให้สู้ต่อหรือยุติเนื่องจากเกิดการสูญเสีย นายจตุพร กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ บอกว่าให้เป็นดุลพินิจของคนเสื้อแดง

นายจตุพร กล่าวว่าจำนวนผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตตามโรงพยาบาลนั้น ช่วงบ่ายจะมีทีมของเสื้อแดงไป แต่หากไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนก็จะต้องขอเข้าไปตรวจสอบ ส่วนกองทุนที่จะมีการตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและผู้เสีย ชีวิต นอกจากพรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงแล้วพ.ต.ท.ทักษิณ จะเข้ามาเป็นแกนนำหลักในการระดมทุนช่วยเหลือด้วย

"ประสงค์" ค้านเจรจา เสื้อแดง ซัด"มาร์ค"อ่อนหัด เอาตัวรอด! แนะ รบ.ให้อิสระทหารทำงาน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 เมษายน 2553 11:53 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาด ใหญ่ขึ้น
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ


อดีตเลขาฯสมช.อัด รบ.ไม่ประสีประสาคิดแต่จะเอาตัวรอด ไม่คิดถึงบ้านเมืองจะรอดหรือไม่ ลั่นไม่ควรคิดเจรจาเสื้อแดงอีก เชื่อหากยังแก้ไขสถานการณ์ไม่ได้จะยื้ดเยื้อ ปชช.จะตายเพิ่มขึ้น เหน็บแค่คำว่าเสียใจ ไม่มีประโยชน์แก้ไขอะไรไม่ได้ แนะให้อิสระทหารทำงานอย่ากำกับ ชี้เวลานี้เป็นเรื่องของบ้านเมืองไม่ใช่การเมือง

วันนี้(11 เม.ย.) น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ให้สัมภาษณ์ในรายการสภาท่าพระอาทิตย์ ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี ถึงสถานการณ์การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อช่วงบ่ายวานนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมากว่า ที่ผ่านมา 1 ปีกว่า รัฐบาลไม่ได้สนใจที่จะดำเนินการกับกลุ่มนปช.หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ในการดำเนินการออกอากาศทีวีของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่มีการปลุกระดมอย่างต่อเนื่อง ทำให้มวลชนคนเสื้อแดงเติบโตขึ้นมาอีกจำนวนมาก ซึ่งตนคิดว่า หากภายใน 1-2 วันนี้ รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐบาล ยังไม่คิดดำนินการอะไรกับกลุ่มคนเหล่านี้ บ้านเมืองจะเสียหาย ประชาชนจะเกิดความอึดอัด จนสุดท้ายต้องออกมาไล่รัฐบาล แล้วหากยังแก้ไขสถานการณ์ไม่ได้เหตุการณ์จะยืดเยื้อ ประชาชนจะตายมากกว่านี้

"ผมอยากจะบอกว่ารัฐบาลไม่ประสีประสาในการทำงาน คิดแต่ว่าจะทำอะไรต้องโปร่งใส ทั้งที่ต้องจับหัวโจกที่เป็นแกนนำทั้งหมดให้ได้ แต่ก็ไม่คิดจะทำ ตั้งแต่คนที่มาชุมนุมยังน้อยอยู่ก็ไม่ฉวยโอกาสปล่อยเวลาให้เลยมาจนถึงวันนี้ นายกฯก็พูดแต่คำว่าเสียใจ ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร เพราะมันแก้ไขอะไรไม่ได้"

น.ต.ประสงค์ กล่าวด้วยว่า การที่รัฐบาลจะไปขอเจรจายุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเรื่องไม่ควรอย่างยิ่ง รัฐบาลคิดแต่จะเอาตัวรอดเห็นแก่ตัวอย่างมาก โดยไม่คิดถึงบ้านเมืองมันจะรอดหรือไม่ ซึ่งตนอยากฝากทหารว่าหากฝ่ายการเมืองไม่ทำอะไร ก็ขอให้ทหารที่มีหน้าที่ปกป้องรักษาบ้านเมือง หารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะขณะนี้มันเป็นเรื่องของบ้านเมืองไม่ใช่เรื่องการเมือง ที่รัฐบาลจะต้องไปกำกับการทำงานของทหารอยู่ตลอดเวลา ควรให้อิสระทหารในการทำงาน เพราะจริงๆแล้วทหารเขารู้ยุทธวิธีที่จะดำเนินการยึดพื้นที่คืน แต่ติดที่เค้าต้องมาฟังคำสั่งฝ่ายการเมือง จริงๆตนไม่อยากจะพูดว่ารัฐบาลพาทหารไปตาย ดังนั้นรัฐบาลจะต้องคิดใหม่

ยอดปะทะเดือด "ม็อบแดง" - ทหาร ดับ 19 ศพ เจ็บอีก 825 ราย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 เมษายน 2553 11:03 น.

เผยยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะ "ม็อบแดง" กับ เจ้าหน้าที่ รวม 19 ราย ทหาร 5 ราย ประชาชน 14 ราย เจ็บ 825 แนะญาติ นำหลักฐานติดต่อขอรับศพที่รพ.โดยตรง

นพ. พิชญา นาควัชระ ผอ.โรงพยาบาลกลาง เปิดเผยถึงยอดผู้บาดเจ็บล่าสุดจากเหตุปะทะระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดงและเจ้า หน้าที่ ว่า ขณะนี้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 10 รายโดยหนึ่งในนั้นมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศ 1 ราย โดยเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สถานฑูตประเทศญี่ปุ่น ได้เข้ามาติดต่อขอรับศพ ของผู้สื่อข่าวดังกล่าวแล้ว เนื่องจากญาติต้องการนำศพกลับไปบำเพ็ญกุศลโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งตั้งคำถามกับรัฐบาลว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งที่รัฐประกาศขั้นตอนการใช้อาวุธแต่ก็มาเสียชีวิตด้วยการถูกยิง โดยขั้นตอนจากนี้ เจ้าหน้าที่จะประสานสถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตตามขั้นตอนการดำเนินการของผู้เสียชีวิตที่ผิด ธรรมชาติและคาดว่า จะส่งศพตรวจได้ในเช้าพรุ่งนี้

นพ. เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ผอ.ศูนย์เอราวัณ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีตัวเลข ผู้บาดเจ็บจำนวน 825 ราย เสียชีวิต 19 รายโดยผู้เสียชีวิต ทั้งหมด เป็นทหาร 5 นาย ประชาชน 14 ราย ซึ่งหากประชาชนราย ใดมีญาติที่เสียชีวิต หรือต้องการสอบถาม สามารถติดต่อได้ที่โรงพยาบาลโดยตรงเนื่องจากขณะนี้ ไม่สามารถให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ได้ ขอให้นำหลักฐาน มาติดต่อได้

อย่างไรก็ตามจากผู้บาดเจ็บเบื้องต้นจำนวน 825 รายนำส่ง รพ.วชิระฯ 159 ราย ร.พ.มิชชั่น 6 ราย ร.พ. พระมงกุฎฯ 215 ราย ร.พ.กลาง 140 ราย ร.พ. รามาฯ 51 ราย ร.พ. หัวเฉียว 59 ราย ร.พ. ศิริราช 34 ราย ร.พ. ตำรวจ 18 ราย ร.พ. จุฬาฯ 6ราย ร.พ. ตากสิน 62 ราย ร.พ.เลิดสิน 8ราย ร.พ. เจ้าพระยา 4 ราย ร.พ. ราชวิถี 8 ราย ร.พ. เจริญกรุงประชารักษ์ 18 ราย และร.พ. พระปิ่นเกล้า 37 ราย

สำหรับรายชื่อผู้เสียชีวิตประกอบด้วย

1. นายอำพล ตติยรัตน์ อายุ 43 ปี ถูกยิงที่ศรีษะ
2. นายยุทธนา ทองเจริญพลพร อายุ 23 ปี ถูกยิงที่ศรีษะ
3.นายไพศาล ทิพยย์ลม อายุ 37 ปี กระโหลกขวายุบ
4. นายสวาท วางาม อายุ 43 ปี มีแผลขนาดใหญ่ที่หน้าผาก
5. Mr.hiroyuki muramoto มีแผลลึกที่ราวนมซ้าย
6. นายธวัฒนะชัย กลัดสุข อายุ 36 ปี มีบาดแผลฉกรรจ์ที่ต้นแขนซ้าย
7. นายทศชัย เมฆงามฟ้า อายุ 44 ปี มีบาดแผลที่อกซ้าย
8. นายจรูญ ฉายแม้น อายุ 46 ปี มีบาดแผลฉกรรจ์ที่สะบักขวา
9. นายวสันต์ ภู่ทอง อายุ 39 ปี มีแผลเปิดที่กะโหลก
10. ชายไทยไม่ทราบชื่อ มีแผลลึกที่สะบักขวา
11.นางคะนึง ฉัตรเทพ
12.พลฯ ภูฑพล ภูริวัฒฯ์ประพันธ์
13. พลฯ อนุพงษ์ เมืองรำพัน
14. พลฯ สิงหา อ่อนทรง
15.พ.อ.ร่มเกล้า ชุวธรรม
16. สอ.จำเนียร
17. นายบุญธรรม ทองผุย
18. นายสมศักดิ์ แก้วสาน อายุ 34ปี
19. นายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์

Friday, April 9, 2010

เมื่อ ทักษิณรับว่าเป็น ‘มะเร็ง’ ผ่าน twitter

Date 16 September 2009 - 11:48

เมื่อวานฟังรายการชั่วโมงข่าวของคุณเติม ช่องเอเอสทีวี นิวส์วัน นำเอาบทสนทนาที่คุณสุทธิชัย หยุ่น บอกว่าทักษิณ ชินวัตร มาทักผ่าน twitter ของเล่นใหม่ของคนบางกลุ่ม (แพร่หลายในหมู่แวดวงคนไอทีมาระยะใหญ่ ก่อนจะซา ๆ เพราะฟังก์ชั่นส่ง sms มาประเทศไทยถูกตัด) มาพูดถึง

คุณเติมพูดให้ชวนคิดถึงเรื่องโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่เสียงลือเสียงเล่าอ้างกันขรมว่าทักษิณเป็น โดยที่เจ้าตัวออกมาปฏิเสธพัลวันหลายต่อหลายครั้ง

ความที่ไม่ค่อยอยากยุ่งเรื่องชาวบ้าน ก็เลยต้องหาความจริงมา

twitter01

เข้าไปที่ ทวิตเตอร์ของคุณสุทธิชัย แล้วก็ไปยังต้นทางของทักษิณ

คำตอบที่ปลายทางจากคุณสุทธิชัย ซึ่งไม่มีอะไรมากกว่าการนัดหมายสัมภาษณ์แบบเดียวกับการสัมภาษณ์นายอภิสิทธิ์ ก่อนหน้านี้

twitter สุทธิชัย

ผมทวนไปหาต้นทางของคำทักทายก็ได้ข้อความอย่างที่คุณเติมเอามาพูดถึง

twitter @thaksinlive

กับประโยคที่ว่า

@suthichai ตัวจริงหรือเปล่าครับ ถ้าตัวจริงก็ต้องคุยกันหน่อย เพราะตอนนี้ผมไม่ได้กินสัตว์เนื้อแดง เลยคิดถึงตอนไปทานอาหารด้วยกันคุณทานเฉพาะปลา

สำหรับผู้ป่วยเป็นมะเร็งจำนวนไม่น้อย หรือคนที่ห่วงใยใส่ใจในสุขภาพ มักได้รับคำแนะนำให้ลดหรือหลีกเลี่ยงการบริโภคสัตว์เนื้อแดง เพราะงานวิจัยจำนวนไม่น้อยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์โดยตรงของสัตว์เนื่้อ แดงทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงและเป็นตัวกระตุ้นอาการของโรคมะเร็ง สัตว์เนื้อแดงที่ว่าได้แก่ หมู วัว และอื่น ๆ ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะหลั่งสารบางอย่างออกมาระหว่างถูกฆ่า

คำแนะนำโดยทั่วไป คือ ให้เลี่ยงไปรับประทานสัตว์เนื้อขาว โดยเฉพาะ ปลา

ทักษิณ ชินวัตร ที่ชอบกินเนื้อ ที่มักพูดถึง “ก๋วยเตี๋ยว เนื้อ” อยู่เสมอ ๆ ในหลาย ๆ ครั้ง จู่ ๆ วันนึงก็ออกมาบอกว่า “ตอน นี้ผมไม่ได้กินสัตว์เนื้อแดง” – ส่วนคุณสิทธิชัย หยุ่น นั้นเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นโรคมะเร็ง

ซ่อนอะไรก็ซ่อนได้ แต่เมื่อพลั้งเผลอ ตัวเองนั่นแหละครับที่จะหลุดปากไขความลับด้วยตัวเอง ทักษิณจึงหลุดออกมาว่า “ตอนนี้ผมไม่ได้กินสัตว์เนื้อแดง”!!

ป.ล. ส่วนสัตว์เสื้อแดงนั้น ทักษิณยังกินเล่นเป็นของว่าง..ฮา

จาก(J)อภิสิทธิ์ถึง(Q)เปรมเป้าหมายสูงสุด โค่น K

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 10 เมษายน 2553 02:23 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาด ใหญ่ขึ้น




จาก(J)อภิสิทธิ์ถึง(Q)เปรม
เป้าหมายสูงสุดโค่น K
บทพิสูจน์“แดงล้มเจ้า”
แม้ปากของแกนนำคนเสื้อแดงจะสำรากถ้อยคำเพื่อยืนยันว่า พวกเขามาชุมนุมเพื่อทำสงครามชนชั้น ทำสงครามไพร่เพื่อล้มล้างอำมาตย์ และขีดวงคำว่าอำมาตย์ว่าหยุดอยู่ที่ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเท่านั้น แต่เมื่อตรวจดูถึงหลักฐานและประจักษ์พยานแวดล้อมต่างๆ แล้ว พวกเขามิอาจปฏิเสธความจริงได้เลยว่า เป้าหมายสูงสุดของเขาคือ การทำสงครามชนชั้น ทำสงครามไพร่เพื่อล้มล้าง “สถาบันพระมหากษัตริย์”

ตัวอย่างที่ตอกย้ำให้เห็นกันชัดๆ อีกครั้งก็คือ นิตยสารเสียงทักษิณ หรือ Voice of Taksin ฉบับวันที่ 18 ปักษ์แรก เมษายน 2553 หนึ่งในสื่อของคนเสื้อแดงที่ตีพิมพ์ภาพปกด้วยภาพและถ้อยคำที่มีเจตนาที่ชัด แจ้งอย่างยิ่งชนิดว่า เป้าหมายสูงสุดของเขาคือการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
**ถึงเวลาล้ม “คิง”

สื่อของคนเสื้อแดงที่มี “นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข” หนึ่งในแกนนำคนสำคัญของนปช.เป็นบรรณาธิการบริหาร ได้นำภาพ “ไพ่ 3 ใบ” มาขึ้นที่หน้าปก โดยไพ่ใบแรกเป็นไพ่แจ็คโพธิ์ดำและมีการตัดต่อภาพด้วยการนำใบหน้าของ “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรีเข้าไปใส่ ส่วนไพ่ใบที่สองเป็นไพ่ควีนโพธิ์แดงและมีการตัดต่อภาพด้วยการนำใบหน้าของ “พล.เปรม ติณสูลานนท์” เข้าไปใส่

แต่ที่ต้องใช้คำว่าอุบาทว์ก็คือ ไพ่ใบสุดท้ายที่สื่อคนเสื้อแดงเจตนาทำขึ้นเพื่อให้คนอ่านเข้าใจว่า ไพ่ใบสุดท้ายพวกเขาหมายถึงอะไร โดยบริเวณหน้าไพ่ถูกทำเป็นเครื่องหมายคำถาม “สีเหลือง” เพื่อให้คนอ่านตีความไปเองว่า ไพ่ตัวที่อยู่ถัดจากแจ็คโพธิ์ดำและควีนโพธิ์แดงคือใคร

นี่เป็นประจักษ์พยานที่คงไม่ต้องตีความให้วุ่นวาย

เพราะเป็นที่รับรู้กันเป็นสากลว่า ถัดจากแจ็คและควีนแล้ว ไพ่ตัวต่อไปก็คือ “คิง”มิอาจตีความเป็นอย่างอื่นได้

ยิ่งเมื่อพิจารณาถ้อยคำที่ใช้ในการพาดหัวด้วยแล้ว ยิ่งเห็นชัดเจน เพราะใช้คำว่า “ไพร่ตาสุดท้าย”-“อำมาตย์อัสดง”และ “การต่อสู้ของไพร่ยุคใหม่” โดยเฉพาะคำว่าไพร่ตาสุดท้ายนั้น แสดงให้เห็นว่าเป็นคำพาดหัวที่สอดรับกับภาพกราฟิกไพ่ที่อยู่ด้านบน และเจตนาหลีกเลี่ยงมาใช้คำว่า “ไพร่” แทนคำว่า “ไพ่”

ด้วยเหตุนี้ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมทั้งจากภาพและถ้อยคำที่ใช้ ก็ต้องหมายความว่า เป้าหมายของคนเสื้อแดงก็คือ หลังจากล้มแจ็คอภิสิทธิ์ด้วยการกดดันให้ยุบสภาแล้ว เป้าหมายต่อไปคือการกำจัดควีนโพธิ์แดงเปรม และสุดท้ายคือการล้มไพ่คิง ซึ่งมีความหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างตรงไปตรงมาโดยมิต้องตีความให้ วุ่นวาย

แถมการล้ม “ไพร่ตาสุดท้าย” ของพวกเขา ยังเป็นการล้มชนิดที่ต้องการให้ “เลือดตกยางออก” อีกต่างหาก เพราะภาพที่เสียงทักษิณนำมาประกอบเป็นพื้นด้านหลังก็คือ “ภาพเลือด”

ส่วนจะล้างกันเฉกเช่นการปฏิวัติฝรั่งเศสหรือราชวงศ์โรมานอฟของรัส เซียหรือไม่นั้น ก็คงต้องพิจารณากันต่อไป

คนเสื้อแดงมิอาจปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับนิตยสารฉบับนี้ได้ เพราะทั้งสถานที่ตั้ง ทีมงาน ที่ปรึกษา ล้วนแล้วแต่ระดับตัวเอ้ของคนเสื้อแดงทักษิณ กล่าวคือ สำนักพิมพ์แห่งนี้มีสถานที่ตั้งอยู่ที่ “ศูนย์การค้าอิมพีเรียลลาดพร้าว” ของ “สงคราม กิจเลิศไพโรจน์” ซึ่งเป็นกองบัญชาการใหญ่ของคนเสื้อแดงและที่ทำการของสถานีดีสเตชั่นก็ตั้ง อยู่ที่อิมพีเรียลลาดพร้าวเช่นกัน

ส่วนทีมงานก็เป็นที่รับรู้กันว่า นักเขียนก็ล้วนแล้วแต่คุ้นชื่อทั้งสิ้น เริ่มจากนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการบริหาร ขณะที่นักเขียนประจำก็ประกอบด้วย “เจ๊เพ๊ญ-จักรภพ เพ็ญแข นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ นายสุนัย จุลพงศธร พล.โทมะ โพธิ์งาม ดร.สุดา รังกุพันธุ์ นายสงวน พงษ์มณี นายธเนศ เจริญเมือง และดร.จารุพรรณ กุลดิลก

สำหรับที่ปรึกษาก็ประกอบด้วยนายวีระ มุสิกพงศ์ นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ นายสุทิน คลังแสง นายชูพงษ์ ถี่ถ้วน และนายสุวิทย์ ทองนวล โดยมีนายสุธรรม แสงประทุมเป็นประธานบริหาร ขณะที่กองบรรณาธิการประกอบไปด้วยนายจักรภพ เพ็ญแข นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ นายจารุวงศ์ เรืองสุวรรณและนายไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันต์

นอกจากนี้ ในส่วนของเนื้อหาที่อยู่ด้านในก็มีความชัดเจนว่า ล้วนแล้วแต่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งสิ้น

บทความหลักของเรื่องที่ใช้ชื่อว่า “ไพร่ตาสุดท้าย” คือสิ่งที่ยืนยันในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

“การชูประเด็น 'ไพร่' เป็นสัญลักษณ์แทนคนเสื้อแดง ในการต่อสู้เรียกร้องสิทธิประชาธิปไตยและความเป็นธรรมของแกนนำขบวนการเสื้อ แดง หรือ นปช. เป็นการตอกย้ำความเจ็บปวดทางประวัติศาสตร์ที่ยังส่งผลมาถึงปัจจุบันว่า ประชาชนไทยวันนี้โดยเฉพาะนักการเมืองที่ถูกยุบพรรคและถูกตัดสิทธิทางการ เมืองทั้ง 111 และ 109 รวมทั้ง 'ทักษิณ' ไม่ต่างอะไรจากไพร่ในอดีตที่ไม่มีสิทธิทางการเมือง และไม่มีแม้แต่สิทธิที่จะเงยหน้าขอความเป็นธรรมจากพระราชา

“หากเหล่าอำมาตย์เกลียดขี้หน้า 'ไพร่' ผู้นั้น การเรียกตัวเองว่า 'ไพร่' ในการขับเคลื่อนทางการเมืองเพื่อต่อสู้กับเหล่าอำมาตย์ที่เบียดบังอำนาจแห่ง พระราชา ในปัจจุบันจึงมีนัยยะสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกถึงอนาคตแห่งการเปลี่ยน แปลงเชิงโครงสร้าง และยิ่งแกนนำ นปช. ใช้กลยุทธ์ 'เลือดนอง' แสดงการร้องขอสิทธิความเสมอภาคทางการเมืองด้วยเลือดของไพร่จึงยิ่งเป็นการ บ่งบอกเชิงสัญลักษณ์ให้เห็นว่า 'ขบวนการไพร่' พร้อมจะเจ็บปวดอย่างถึงที่สุดถึงขั้น 'นองเลือด'

“ในอนาคตหากเหล่าอำมาตย์และลูกสมุนยังขัดขวางการสถาปนา ระบอบประชาธิปไตยแห่งไพร่ การต่อสู้ครั้งนี้จึงเป็นครั้งสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์จึงไม่ต่างอะไรกับ การเล่นไพ่ ตาสุดท้ายที่ไพร่ทั้งหลายก็รู้ว่าอำมาตย์มีไพ่อะไรอยู่ในมือ แต่วิวัฒนาการแห่งประวัติศาสตร์ได้เคยบอกแก่เราว่า ไพ่ตาสุดท้ายมีความเจ็บปวดที่ยาวนานและอันตรายเกินกว่าที่ไพร่จะเกรงกลัว และไพร่วันนี้พร้อมจะเล่นไพ่เลือดแล้ว ...” นิตยสารเสียงทักษิณระบุ

เมื่อพลิกต่อไปที่ หน้า 28 กอง บก.นิตยสารเสียงทักษิณก็รายงานถึง กระทู้ในเว็บไซต์ซึ่งเป็นศูนย์รวมของขบวนการล้มเจ้าแห่งหนึ่ง โดยพาดหัวข่าวว่า กระทู้ Hi S รายงานความคืบหน้าอาการป่วยของ xxx ขณะที่เนื้อหาข่าวระบุว่า

“คุณ Hi S มีศิลปะที่จะรายงานโดยตั้งชื่อตัวละครชนิดที่คุณสาธิต วงศ์หนองใน หาเรื่องปิดเว็บและดำเนินคดีทางกฎหมายไม่ได้ แต่เมื่อเห็นชื่อตัวละคร และคิดสักนิดด้วยคำผวนบ้างด้วยสัญลักษณ์บ้างจะเข้าใจและตามมาด้วยเสียง หัวเราะ เช่น ชื่อตัวละคร 'จ่าห้าว' และ 'น้องถั่ว' รวมตลอดทั้งข้อมูลที่ Hi S ว่าเป็นเพียงนิยายแต่ผู้อ่านกลับเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง เพราะข้อมูลจากวรรณกรรมของ Hi S ที่หลุดออกมาสู่โต๊ะข่าวในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ นั้นเป็นเรื่องจริง ข่าวเจาะลึก VOT ทราบมาว่า Hi S เป็นคนวงในที่เรียกว่า 'ในรั้ว xxx' และอึดอัดต่อเหตุการณ์บ้านเมืองและความเน่าเฟะของบางครอบครัวในประเทศนี้ ที่ลวงสังคมปิดหูปิดตาผู้คนมายาวนาน ...”

และปิดท้ายกันที่บทความที่ใช้ชื่อว่า “มุสตาฟา เคมาล อตาเตอร์ก นักปฏิวัติผู้ก่อร่างสร้างรัฐสมัยใหม่ให้แก่ตุรกี” ซึ่งแม้จะได้ได้ขยายความให้เห็นว่า มีเป้าประสงค์ใดในการนำเสนอ หากแต่เมื่ออ่านเนื้อหาโดยรวมก็จะเห็นชัดเจนว่าต้องการนำไปเปรียบเทียบกับ นายใหญ่ของคนเสื้อแดง

ยกตัวอย่างเช่น เนื้อหาตอนหนึ่งที่ระบุว่า “เขาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งของขบวนการยังเตอร์กในการก่อการปฏิวัติโค่น ล้มอำนาจของกษัตริย์อับดุลฮามิดที่ 2 แห่งออตโตมาน” หรืออีกตอนหนึ่งที่เขียนเอาไว้ว่า “มุสตาฟา เคมาลรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของของสาธารณรัฐเมื่อปี 1934 และทุกคนในประเทศตุรกีก็ขนานนามของเขาว่ามุสตาฟา เคมาล อตาร์เตอร์ก(อตาเตอร์กเป็นภาษาตุรกีที่แปลว่า บิดาแห่งชาวตุรกี)”
**เสียงทักษิณ-ชูพงษ์ ถี่ถ้วน-นปช.USAคนครอกเดียวกัน

นอกจากนี้ เรื่องที่ประจวบเหมาะที่สะท้อนให้เห็นธาตุแท้ของคนเสื้อแดงอีกประการหนึ่งก็ คือ การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้าจับกุม “นายธันย์ฐวุฒิ” หรือ “หนุ่ม ทวีวโรดมกุล” อายุ 38 ปี คาอาคารอัสสกานต์คอนโดมิเนียม เขตบางกะปิ กทม.ในฐานะผู้ดูแลเว็บไซต์นปช.USA เจ้าของสมญา “เรดอีเกิ้ล” หรืออินทรีแดง โทษฐานนำรายการทางออกประเทศไทยของนายชูพงษ์ ถี่ถ้วนที่มีเนื้อหาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 1 เม.ย.

รายการนี้นอกจากเผยแพร่ทางเว็บไซต์แล้ว ยังถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนลด้วย!

จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวผู้ต้องหาไปฝากขัง ซึ่งหลังจากศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้ฝากขังตามคำร้อง และให้ส่งตัวผู้ต้องหาไปควบคุมไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ คำร้องฝากขังสรุปว่า ผู้ต้องหาใช้ชื่อนามแฝง ว่า “เรดอีเกิ้ล” หรืออินทรีแดง เป็นเจ้าของหรือผู้ดูแลเว็บไซต์ www.norporchorusa.com และ www.norporchorusa2.com ซึ่งมีการโพสต์ข้อความจาบจ้วง และอาฆาตมาดร้าย ต่อสถาบันเบื้องสูง ตั้งแต่เวลาประมาณ 10.00 น.วันที่ 13-15 มี.ค.53 ก่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปอท.จะติดตามจับกุมผู้ต้องหาได้ ที่ห้องพักเลขที่ 803 อาคารอัสสกานต์คอนโดมิเนียม ตั้งอยู่เลขที่ 19/50 อาคาร 9 ซอยรามคำแหง 107 หรือซอยวัดศรีบุญเรือง ถนนสุขาภิบาล 3 แขวงลาดพร้าว เขตบางกะปิ กทม.พร้อมของกลางหลายรายการ เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ

และที่ต้องขีดเส้นใต้เอาไว้ก็คือ รายการทางออกประเทศไทยที่มีเนื้อหาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์นั้น เป็นรายการของ “นายชูพงษ์ ถี่ถ้วน” และนายชูพงษ์คนเดียวกันนี้เองก็เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาของนิตยสารเสียงทักษิณ อีกด้วย

เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงเป็นคนในครอกเดียวกัน

“คำนูณ สิทธิสมาน” ส.ว.สรรหา ได้เขียนถึงนายชูพงษ์เอาไว้ในคอลัมน์ที่ตั้งชื่อ “นปช.USA + ชูพงษ์ ถี่ถ้วนกับวาทกรรม ‘รถไฟขบวนเดียวกัน’ !” เอาไว้ว่า “นายชูพงษ์ ถี่ถ้วนดังขึ้นมาจากการจัดรายการวิทยุชุมชนของคนเสื้อแดง จนได้เข้าเป็นแกนนำ นปช.รุ่น 2 ในอดีตเขาเป็นศิษย์อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เคยต้องหาจำคุกในคดีสภาปฏิวัติมาแล้ว สี่ห้าเดือนมานี้เขาเดินทางออกจากประเทศไปพำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกา ร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่ม นปช.USA ที่มีเนื้อหาวิพากษ์และบริภาษสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรง ปรากฏเป็นคลิปเสียงในเว็บไซต์ นปช.USA จำนวนมาก เพราะเขามีรายการวิทยุทางอินเทอร์เน็ตทุกวัน แม้ตัวจะอยู่อเมริกา แต่คลิปเสียงแพร่ไปทั่วยิ่งกว่าหญ้าหน้าฝน ซีดี “อาจารย์ชูพงษ์” หรือ “ชูพงษ์ เปลี่ยนระบอบ” เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในหมู่คนเสื้อแดง ในโลกไซเบอร์วันนี้ นอกจากคลิปเสียงและรายการวิทยุออนไลน์ของนายชูพงษ์ ถี่ถ้วนแล้ว ยังมีทั้งภาพและเนื้อหาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ในนาม นปช.USA อีกมาก”

นอกจากนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า นายชูพงษ์เป็นคนปักษ์ใต้ อาชีพเก่า คือ คนขับแท็กซี่ ก่อนจะผันตัวเองมาเป็นผู้ดำเนินรายการวิทยุชุมชน แจ้งเกิดในเวทีม็อบครั้งแรกจากเวทีม็อบเชียร์ทักษิณ ในช่วงต้นปี 2549 โดยเดินดุ่ม ๆ ไปขอขึ้นเวทีปราศรัยไฮด์ปาร์กเชียร์ระบอบทักษิณ ที่สวนจตุจักร ซึ่งมีกลุ่มคาราวานคนจนของนายคำตา แคนบุญจันทร์ เป็นแกนนำ ร่วมกับนายชินวัฒน์ หาบุญพาด

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2549 นายชูพงษ์คนนี้ยังได้จับมือกับนายชินวัฒน์ หาบุญพาดเข้าไปร่วมเป็นแกนนำในกลุ่มคาราวานคนจนของนายคำตา แคนบุญจันทร์ที่ พาม็อบไปปิดล้อมสำนักพิมพ์เนชั่น-คมชัดลึกอย่างป่าเถื่อน ทำให้ถูกแจ้งความดำเนินคดีอาญา ตอนนี้ คดียังค้างอยู่ที่ศาล

และที่ต้องขีดเส้นใต้เอาไว้ก็คือ ครั้งหนึ่งนายชูพงษ์เคยทำงานกับ"พ่อใหญ่จิ๋ว" แต่ตอนหลังก็ถอยห่างออกมา
**”คางคกเหิม”พาดพิงสตรีสูงศักดิ์

และยิ่งเมื่อนำมาเชื่อมโยงให้เห็นถึงคำพูดของ “นายจตุพร พรหมพันธุ์” แกนนำคนสำคัญของม็อบเสื้อแดง ก็จะเห็นชัดเจนถึงเป้าประสงค์ในการเคลื่อนไหวของพวกเขาว่า แท้ที่จริงแล้วต้องการจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ และต้องการช่วยเหลือ นช.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นผิด โดยที่ไม่มีเหตุผลอื่นในการเจือปนแต่อย่างใด

ไม่เช่นนั้นแล้ว คงไม่มีการเอ่ยชื่อของ “ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ” รองราชเลขาธิการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ “คุณหญิงทิพยา ยังพัฒนา หรือ คุณหญิงดารา” คุณข้าหลวงในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บนเวทีชุมนุมของคนเสื้อแดงที่สี่แยกราชประสงค์เมื่อค่ำคืนของวันที่ 6 เม.ย.อย่างเด็ดขาด

และเป็นการเอ่ยนามที่ต้องบอกว่าเจตนา มิใช่บังเอิญหรือพลาดพลั้งหลุดปากออกมา และที่สำคัญคือนายจตุพรยังเจตนาที่ จะนำเรื่องนี้มาพูดบนเวทีของคนเสื้อแดงในวันที่ 6 เม.ย.ซึ่งเป็นวันจักรีอีกต่างหาก
ดังนั้น จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วพวกเขาก่อม็อบเพื่อต้องการกดดันสถาบัน และคู่ต่อสู้ของเขาไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นายอภิสิทธิ์หรือพล.อ.เปรมเท่า นั้น หากแต่เป็น “บุคคล” สำคัญเพียง “คนเดียว” เท่านั้นที่จะแก้ปัญหาของคนเสื้อแดงและ “นช.ทักษิณ” ได้ ดังเช่นที่ “นายชุมพล ศิลปอาชา” หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา วิเคราะห์และให้สัมภาษณ์เอาไว้ในรายการ “เจาะลึกทั่วไปอินไซด์ไทยแลนด์” ของ “นายดนัย เอกมหาสวัสดิ์” ทางวิทยุเอฟเอ็ม 97.0 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อวันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านมา

คงไม่ต้องตีความกระมังว่า บุคคลสำคัญเพียงคนเดียวที่นายจตุพรพูดถึงหมายถึงใคร

“นางกาญจนี วัลยะเสวี” แกนนำเครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า “เป็นการกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริงแม้แต่น้อย เพราะคุณหญิงท่านนั้นเป็นสุภาพสตรีที่กิริยาเรียบร้อย ไม่มีพฤติกรรมแบบนั้นเด็ดขาด เป็นคนถ่อมตนมีชีวิตอย่างสมถะ ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ไม่เคยแอบอ้างสถาบัน ทั้งที่เป็นผู้ที่ติดตามรับใช้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อย่างใกล้ชิดมานาน ท่านไม่ควรจะมาถูกการเมืองโจมตีแบบนี้”

...สุดท้าย คำถามที่เกิดขึ้นก็คือว่า คนเสื้อแดงที่มาร่วมชุมนุมทราบหรือไม่ว่า เป้าหมายในการทำศึกครั้งนี้คือการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์

ถ้าย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ อาจต้องตอบว่า มีเพียงบางส่วนเท่านั้น ขณะที่ส่วนใหญ่มาโดยไม่ทราบความเป็นจริง ถูกหลอกมาบ้าง เข้ามาร่วมชุมนุมเพราะอามิสสินจ้างที่ได้รับ

แต่ ณ ห้วงเวลาปัจจุบันหลังจากที่พวกเขามาร่วมชุมนุมใหญ่ที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศและ เคลื่อนขบวนมาปักหลักที่สี่แยกราชประสงค์ คำตอบข้างต้นคงต้องเปลี่ยนแปลงไป และคงสามารถเหมารวมได้ว่า พวกเขาคือส่วนหนึ่งของขบวนการล้มเจ้าไปเรียบร้อยแล้ว

“ไอ้ตู่” สุดด้าน!! ประกาศชัยชนะ ยึดไทยคม-ตะเพิดทหารสำเร็จ



ดูวีดีโอประกอบจาก Manager Multimedia
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 เมษายน 2553 16:19 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาด ใหญ่ขึ้น
กลุ่มคนเสื้อแดงหยามหนักชี้หน้า ด่าทหาร จนในที่สุดเจ้าหน้าที่ถอยร่นกลับไป

“ไอ้ตู่” สุดด้าน!! ประกาศชัยชนะเสื้อแดง หลังเข้ายึดไทยคมสำเร็จ อีกทั้งยังไล่ตะเพิดทหารพ้นพื้นที่ ล่าสุด กลุ่มคนเสื้อแดงนั่งล้อมสถานีดาวเทียมไทยคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่สามารถเข้าไปในอาคารได้ เนื่องจากมีระบบป้องกันดี
      

       วันนี้ (9 เม.ย.) นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช.ประกาศชัยชนะต่อผู้ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงบนเวทีรถบรรทุกกระจายเสียง ที่สถานีดาวเทียมไทยคม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ทันทีหลังกลุ่มคนเสื้อแดงสามารถบุกเข้าไปภายในสถานีดาวเทียมไทยคมได้เป็นที่ เรียบร้อย
     
       โดยก่อนหน้านี้ ได้เกิดเหตุกระทบกระทั่งกันระหว่างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย กับผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ทำให้มีผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ 2 คน ซึ่งมีการนำตัวส่งโรงพยาบาลแล้ว ทั้งนี้ ทหารในพื้นที่ยังไม่มีปฏิกิริยาใดๆ เกิดขึ้น
     
       สำหรับบรรยากาศการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่สถานีดาวเทียมไทยคมขณะนี้ แกนนำยังสามารถควบคุมอารมณ์ของผู้ชุมนุมไม่ให้เกิดความรุนแรงได้ หลังจากก่อนหน้า มีการบุกเข้าไปภายในบริเวณรั้วของสถานีดาวเทียมไทยคม จนเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
     
       ทั้งนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงยังไม่สามารถเข้าไปภายในอาคารสถานีดาวเทียมไทยคมได้ เนื่องจากระบบในอาคารของสถานีไทยคม มีมาตรการป้องกันค่อนข้างดี ส่วนเจ้าหน้าที่เริ่มถอนกำลังบ้างแล้ว
     
       ล่าสุด กลุ่มคนเสื้อแดงเริ่มก่อความวุ่นวาย โดยพยายามปาก้อนหินขับไล่ทหาร แต่โชคไม่เข้าข้างหล่นใส่หัวพวกเดียวกัน ทำให้มีผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงบาดเจ็บไปหลายราย ทั้งนี้ แกนนำคนเสื้อแดงประกาศ ภายในเวลา 16.00 น.ทหารจะต้องถอยกำลังพ้นจากสถานีดาวเทียมไทยคม และเปิดสัญญาณสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนลทันที
      

      

      

      


Thursday, April 8, 2010

ออกหมายจับ 17 หัวโจก หยุด "ไพร่แดง" ป่วนเมือง!

โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 9 เมษายน 2553 13:07 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาด ใหญ่ขึ้น
นายวีระ มุสิกพงศ์ กับนพ.เหวง โตจิราการ

นางดารุณี กฤตบุญญาลัย ร่วมชุมนุมคนเสื้อแดง

ศาลอนุมัติหมายจับ ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพิ่มอีก 17 แกนนำ "ไพร่แดง" พ่วงท้ายด้วย"เสธแดง" สร้างความวุ่นวายให้บ้านเมือง
      
       วันนี้ (9 เม.ย.) ที่กองบังคับการปราบปราม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) สั่งการให้ พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รักษาราชการแทนผบก.ป. พ.ต.อ.ศานิตย์ มหถาวร รองผบก.ป. รวบรวมพยานหลักฐานไปยังศาลอาญาเพื่อขออนุมัติออกหมายจับแกนนำและผู้ร่วมการ ชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 11 (1) ที่ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะ เป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
      
       ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการ ใด ๆ อันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อนำตัวมาดำเนิน การตามกฎหมายต่อไป
      
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังศาลพิจารณาพยานหลักฐานแล้วได้อนุมัติหมายจับแกนนำและผู้ร่วมชุมนุมนปช. ฐานเป็นผู้ต้องสงสัย เป็นผู้สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 11 (1) ตามหมายจับที่ ฉฉ 8-24/2553 ลงวันที่ 8 เม.ย.53 รวมจำนวนทั้งสิ้น 17 คน ได้แก่ 1.นพ.เหวง โตจิราการ อายุ 59 ปี 2.นางดารุณี กฤตบุญญาลัย อายุ 61 ปี 3.นายจรัญ ดิษฐาอภิชัย อายุ 63 ปี 4.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อายุ 35 ปี 5.นายนิสิต สินธุไพร อายุ 50 ปี 6.นายวีระ มุสิกพงศ์ อายุ 62 ปี 7.นายก่อแก้ว พิกุลทอง อายุ 45 ปี
      
       8.นายขวัญชัย สารคำ หรือไพรพนา อายุ 58 ปี 9.นายชินวัฒน์ หาบุญพาด อายุ 66 ปี 10.นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท อายุ 58 ปี 11.นายอดิศร เพียงเกษ อายุ 57 ปี 12.นายวรพล พรหมิกบุตร อายุ 53 ปี 13.พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ อายุ 51 ปี 14.นายสำเริง ประจำเรือ อายุ 45 ปี 15.นายวิสา คัญทัพ อายุ 56 ปี 16.นางไพจิตร อักษรณรงค์ อายุ 48 ปี และ 17.พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง

พันธมิตรฯ แถลงย้ำ “แม้ว” ชักใยแดงป่วนเมือง-เชื่อ 9 เม.ย.รุนแรง-ติง “มาร์ค” อืดอาดปล่อยม็อบยื้อ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 เมษายน 2553 18:12 น.

พันธมิตรฯ ออกแถลงการณ์ระบุ “เสื้อแดง” นัดป่วนเมือง 9 เม.ย.มุ่งใช้ความรุนแรง หลังก่อเหตุกว่า 40 ครั้งตลอด 1 ที่ผ่านมา ชี้ชัด “นช.แม้ว” อยู่เบื้องหลังป่วนเมือง ปูทางคืนอำนาจ ฟอกผิดให้ตัวเอง ติง “มาร์ค” หย่อนยานบังคับใช้กฎหมาย เมินใช้สื่อรัฐลบล้างข้อมูลบิดเบือน ยืนยันเจตนา พธม.เสนอปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ เตรียมนัดวันประชุมตัวแทน-แนวร่วมทั่วประเทศ

         
       แถลงการณ์ ฉบับที่ 7/2553
       พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
       เรื่อง สามัคคีประชาชนปกป้อง ชุมชน ชาติ และราชบัลลังก์
      
       จากการที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงประกาศใช้ยุทธการเผด็จศึกวันที่ 9 เมษายน 2553 นั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถือว่าเป็นสัญญาณในการใช้ความรุนแรงนำหน้า โดยได้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงและการก่อวินาศกรรมอย่างต่อเนื่องร่วมประมาณ 40 ครั้ง แล้วในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
      
       จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประชุมหารือกันและได้มีมติดังต่อไปนี้
      
       1.ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่า การชุมนุมของแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง การเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทยทั้งในสภาและนอกสภา ตลอดจนความรุนแรงและการก่อวินาศกรรมนั้นอยู่ในขบวนการเดียวกัน ซึ่งเป็นขบวนการ 3 ประสาน ที่อยู่ภายใต้การนำของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร และทำทุกอย่างเพื่อการให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองและฟอกความผิดของตัวเอง และพวกพ้องทั้งสิ้น นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร และพวกจึงยังคงเป็นปัญหาของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม
      
       2.พัฒนาการที่เกิดขึ้นของขบวนการนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร สะท้อนให้เห็นว่า นับตั้งแต่เหตุการณ์การก่อความไม่สงบและการจลาจลเมื่อเดือนเมษายน 2552 ได้คลี่คลายไปแล้ว รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เร่งใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด ไม่บังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิดให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่กระตืนรือล้นในการใช้กลไกสื่อของรัฐเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงลบล้าง ข้อมูลที่บิดเบือน จนเป็นผลทำให้เกิดเป็นปัญหาความมั่นคงที่บานปลายมาจนถึงทุกวันนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงถือเป็นความบกพร่องที่รัฐบาลต้องมีส่วนรับผิดชอบ ด้วยเช่นกัน
      
       3.เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในครั้งนี้ รัฐบาลได้ใช้การยกระดับและการประกาศใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ พร้อมกับมีประชาชนให้การสนับสนุนจำนวนมาก แต่รัฐบาลก็ไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มประสิทธิภาพตามที่ได้ประกาศ แต่ประการใด กลับปล่อยให้เวลาผ่านล่วงเลยมาเกือบ 4 สัปดาห์ จนประเทศชาติและประชาชนได้รับความเสียหายและความเดือดร้อนโดยที่รัฐบาลไม่ สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้
      
       4.หลังจากที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เสนอให้รัฐบาลเป็น เจ้าภาพในการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ตามแถลงการณ์ฉบับที่ 6/2553 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2553 รัฐบาลก็ยังเพิกเฉยและไม่ตอบสนองใดๆ จึงแสดงให้เห็นว่า ข้อเสนอในการยุบสภาของระบอบทักษิณเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจของตัวเองและพวก และข้อเสนอของรัฐบาลให้ลงประชามติในเรื่องของผลประโยชน์ของนักการเมืองพรรค ร่วมรัฐบาลนั้น ต่างไม่ได้เกิดประโยชน์ และไม่ได้เป็นความหวังของประเทศชาติและประชาชนใดๆ ทั้งสิ้น
      
       5.เราขอประณามการปราศรัยที่บิดเบือนเบือน โกหกหลอกลวงของแกนนำ และผู้ปราศรัยบนเวทีคนเสื้อแดงที่ไร้ซึ่งความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใส่ความ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ วีรชนผู้เสียชีวิตจากการกระทำจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างอำมหิต ซึ่งมีรายงานหลักฐานและการชี้มูลความผิดของนักการเมืองและข้าราชการโดยคณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นที่ประจักษ์แล้ว ถือเป็นการกระทำที่สะท้อนให้เห็นถึงความไร้จริยธรรม ศีลธรรม ในการนำการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง
      
       6.เราขอสนับสนุนให้กำลังใจกลุ่มประชาชนทุกกลุ่มที่แสดงออกมาเพื่อปก ป้องชุมชนของตัวเอง พิทักษ์รักษาชาติ และราชบัลลังก์ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างของพลเมืองที่ดี
      
       7.สำหรับการประชุมนตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจังหวัด ต่างๆ และองค์กรแนวร่วมนั้นถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เราจะกำหนดวันเวลาและสถานการณ์ที่เหมาะสมโดยเร็วต่อไป
      
       ด้วยจิตคารวะ
      
       พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
       วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2553

รายละเอียดคำประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศที่เกี่ยวข้อง

303 คณาจารย์แถลงค้านยุบสภา ประณามม็อบป่วน จี้ใช้กฎหมายฟัน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 เมษายน 2553 13:17 น.              

“303 คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ” ร่วมลงนามค้านยุบสภาที่ไร้เหตุผล ต้านความรุนแรง พร้อมจี้รัฐเร่งปฏิรูปการเมืองเพื่อทางออกสังคม ประณามม็อบข่มขู่ ทำชาวบ้านเดือดร้อน แนะเร่งดำเนินการตามกฏหมาย

วันนี้ (8 เม.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 7 ตึกอเนกประสงค์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่มนักวิชาการนำโดย ศ.นพ.ประมวล วีรุตมเสน คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร. สุรชัย ศิริไกร, รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกันแถลงข่าวในนามกลุ่มนักวิชาการที่ยืนยันความถูกต้องต่อสังคม เพื่อคัดค้านความรุนแรงที่ไร้สติ ต่อต้านการยุบสภาที่ไร้เหตุผล เร่งปฏิรูปการเมือง เพื่อเป็นทางออกต่อสังคม
      
       พร้อมนำรายชื่อคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวม 303 คน ร่วมแถลงข่าว โดยทั้งหมดขอประกาศจุดยืนในสถานการณ์การเมืองที่วิกฤตของสังคมไทยในขณะนี้ ว่า 1.การชุมนุมทางการเมืองเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่การกระทำผิดกฎหมาย ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อสาธารณะ การใช้ความรุนแรงข่มขู่ และสร้างความรู้สึกหวาดกลัวแก่ประชาชน เป็นสิ่งที่สังคมสมควรประณาม 2.ข้อเรียกร้องเพื่อให้เกิดการยุบสภา เป็นข้อเรียกร้องที่ปราศจากเหตุผลอันควร การกล่าวอ้างถึงสังคมที่ไม่สงบ จนเป็นเหตุต้องยุบสภา เป็นการส่งเสริมให้เกิดแบบอย่างในการใช้กำลังรุนแรง และการกะเกณฑ์คนมาสร้างความเสียหาย เพื่อหวังผลในเชิงการเมือง จึงเป็นเรื่องรัฐบาลไม่จำเป็นต้องรับฟัง หรือต้องเจรจาด้วยแต่อย่างใด 3.การรักษากฎหมายและสร้างสังคมให้คืนสู่ปกติสุขโดยเร็ว เป็นหน้าที่ที่รัฐต้องเร่งรีบดำเนินการ ก่อนที่บ้านเมืองจะเสียหายไปมากกว่านี้ 4.การปฏิรูปทางการเมืองและสังคม โดยระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนมามองปัญหาที่เกิดขึ้น และร่วมกันออกแบบกลไกเพื่อการปฏิรูปการเมืองและสังคม ถือเป็นภารกิจที่มีความสำคัญสูงสุดของรัฐบาลชุดปัจจุบัน และต้องทำด้วยความจริงใจ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า รัฐบาลตั้งใจจะแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
      
       โดยรายชื่อนักวิชาการทั้ง 303 คน ประกอบด้วย
       1.ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ราชบัณฑิต
       2.ศาสตราจารย์ นพ.ประมวล วีรุตมเสน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       3.ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์
       4.ศาสตราจารย์ ดร.จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       5.ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระ
       6.ศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย ศิริไกร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
       7.ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
       8.ศาสตราจารย์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       9.ศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี สังข์ศรี สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       10.ศาตราจารย์ ศักดา ศิริพันธ์ อดีตคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       11.ศาสตราจารย์ นพ.ประสิทธิ์ ฟูตระกูล ภาควิชากุมาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       12.ศาสตราจารย์ พญ.นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       13.ศาสตราจารย์ ดร.สุจริต เพียรชอบ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       14.ศาสตราจารย์ ดร.วรศักดิ์ เพียรชอบ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       15.ศาสตราจารย์ นพ.วสันต์ สุเมธกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       16.ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะนาถ บุนนาค คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       17.ศาสตราจารย์ ดร.อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       18.รองศาสตราจารย์ สมชัย ศรีสุทธิยากร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
       19.รองศาสตราจารย์ ไว จามรมาน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
       20.รองศาสตราจารย์ หริรักษ์ สูตะบุตร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
       21.รองศาสตราจารย์ นพ. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
       22.รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
       23.รองศาสตราจารย์ สุรัตน์ โหราชัยกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       24.รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ กังสนันท์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
       25.รองศาสตราจารย์ พวงแก้ว ปุณยกนก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       26.รองศาสตราจารย์ นพ.บรรยง ภักดีกิจเจริญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       27.รองศาสตราจารย์ นพ.ชาครีย์ กิติยากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       28.รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยาณี คูณมี คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
       29.รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย อุตสาหจิต คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
       30.รองศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
       31.รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย  ศุภดิษฐ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
       32.รองศาสตราจารย์ นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       33.รองศาสตราจารย์ ดร.ต่อตระกูล ยมนาค นักวิชาการอิสระ
       34.รองศาสตราจารย์ ทญ.พนมพร วานิชชานนท์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       35.รองศาสตราจารย์ ทญ.สุขนิภา วงศ์ทองศรี คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       36.รองศาสตราจารย์ ทญ.อารีย์ เจนกิตติวงศ์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       37.รองศาสตราจารย์ ดร.รัตน์ เสรีนิราศ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       38.รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ถิ่นเคารพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
       39.รองศาสตราจารย์ ปัญญารักษ์ งามศรีตระกูล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
       40.รองศาสตราจารย์ ทพ.ดร.วีระ เลิศจิราการ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       41.รองศาสตราจารย์ สุรีย์ สมประดีกุล คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
       42.รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา แก้วเทพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       43.รองศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ สถาปิตานนท์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       44.รองศาสตราจารย์ ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       45.รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ อนันตชาติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       46.รองศาสตราจารย์ กรรณิการ์ อัศวดรเดชา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       47.รองศาสตราจารย์ พัชนี เชยจรรยา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       48.รองศาสตราจารย์ รุ่งนภา พิตรปรีชา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       49.รองศาสตราจารย์ พรรณี ชิโนรส คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       50.รองศาสตราจารย์ สุชาดา ศิริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       51.รองศาสตราจารย์ บุศบรรณ ณ สงขลา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       52.รองศาสตราจารย์ ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       53.รองศาสตราจารย์ เมตตา วิวัฒนานุกูล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       54.รองศาสตราจารย์ อวยชัย พานิช คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       55.รองศาสตราจารย์ ปัทมวดี จารุวร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       56.รองศาสตราจารย์ รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       57.รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       58.รองศาสตราจารย์ ดร.จีระ ประทีป สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       59.รองศาสตราจารย์ สุขุมาลย์ ชำนิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       60.รองศาสตราจารย์ ดร.รสคนธ์ รัตนเสริมพงษ์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       61.รองศาสตราจารย์ ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       62.รองศาสตราจารย์ ปิยะนุช โปตะวณิช สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       63.รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       64.รองศาสตราจารย์ พูนสุข เวชวิฐาน สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       65.รองศาสตราจารย์ ดร.ชยาพร วัฒนศิริ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       66.รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ คงสม สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       67.รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา จิตตลดากร สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       68.รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       69.รองศาสตราจารย์ ดร.ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       70.รองศาสตราจารย์ ธิดา โมสิกรัตน์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       71.รองศาสตราจารย์ สมัครสมร ภักดีเทวา สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       72.รองศาสตราจารย์ เรือเอกหญิงปรียา หิรัญประดิษฐ์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       73.รองศาสตราจารย์ ดร.สาคร บุญดาว สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       74.รองศาสตราจารย์ ดร.จิตรา วีรบุรีนนท์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       75.รองศาสตราจารย์ สุณี ภู่สีม่วง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       76.รองศาสตราจารย์ ณัฏฐพร พิมพายน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       77.รองศาสตราจารย์ ดร.นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       78.รองศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       79.รองศาสตราจารย์ นพพร โทณะวณิก สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       80.รองศาสตราจารย์ วราภรณ์ อุปลาคม สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       81.รองศาสตราจารย์ วิศิษฐ์ศักดิ์ แป้นสัมฤทธิ์ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       82.รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       83.รองศาสตราจารย์ ดร.ศศิกาญจน์ ทวิสุวรรณ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       84.รองศาสตราจารย์ ดร.ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       85.รองศาสตราจารย์ ดร.ประจวบจิตร คำจัตุรัส สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       86.รองศาสตราจารย์ อุษาวดี จันทรสนธิ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       87.รองศาสตราจารย์ ดร.หฤษฎี ภัทรดิลก สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       88.รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา โพธิ์ดี สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       89.รองศาสตราจารย์ ลัดดา พิศาลบุตร สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       90.รองศาสตราจารย์ ดร.เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       91.รองศาสตราจารย์ ดร.พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       92.รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       93.รองศาสตราจารย์ สมเกียรติ จันทร์ไพแสง สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       94.รองศาสตราจารย์ มาลี สุรเชษฐ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       95.รองศาสตราจารย์ ดร.วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       96.รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีนวล สถิตวิทยานันท์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       97.รองศาสตราจารย์ บุญทิพย์ สิริธรังศรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       98.รองศาสตราจารย์ กรองกาญจน์ ศิริภักดี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       99.รองศาสตราจารย์ อนัญญา สิทธิอำนวย สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       100.รองศาสตราจารย์ มาลี ล้ำสกุล สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       101.รองศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน สาขาวิชาศิลปศาสตร์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       102.รองศาสตราจารย์ ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       103.รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา เพ็ญศิรินภา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       104.รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ เกยุรานนท์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       105.รองศาสตราจารย์ สุรเดช ประดิษฐบาทุกา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       106.รองศาสตราจารย์ สราวุธ สุธรรมาสา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       107.รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริศักดิ์ สุนทรไชย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       108.รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       109.รองศาสตราจารย์ ศิริศักดิ์ ศุภมนตรี สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       110.รองศาสตราจารย์ ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       111.รองศาสตราจารย์ ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ สำนักทะเบียนและวัดผล
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       112.รองศาสตราจารย์ ชนินาฏ ลีดส์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       113.รองศาสตราจารย์ ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       114.รองศาสตราจารย์ จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
       115.รองศาสตราจารย์ เกศรา อัศดามงคล มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       116.รองศาสตราจารย์ ไพโรจน์ จงบัญญัติเจริญ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       117.รองศาสตราจารย์ พรรณจิตต์ นิลกำแหง คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
       มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
       118.รองศาสตราจารย์ พรรัตน์ดำรุง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       119.Associate Prof. Dr. Ariya Aruninta จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       120.Assocciate Prof. Sorawit Narupiti คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       121.รองศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ สัจกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       122.รองศาสตราจารย์ ม.ล. ไขสิริ ปราโมช คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       123.รองศาสตราจารย์ ดร.จรูญศรี มาดิลกโกวิท คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       124.รองศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       125.รองศาสตราจารย์ ดร.สำลี ทองธิว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       126.รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       127.รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ สัจกุล อาศรมศิลป์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       128.รองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศิริ เจริญพจน์ ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ ม.
       ศิลปากร
       129.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
       สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
       130.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       131.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รจิต วัฒนสินธุ์ อดีตอาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
       มหาวิทยาลัย
       132.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวี สุรฤทธิกุล สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       133.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เมธาวุฒิ พีรพรวิทูร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
       ม. ธรรมศาสตร์
       134.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา ผลประเสริฐ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       135.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดจิต เจนนพกาญจน์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       136.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอมอร จารุรังษี สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       137.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัณฉัตร หมอยาดี สาขาวิชาศิลปศาสตร์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       138. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กาญจนา ใจกว้าง สาขาวิชาศิลปศาสตร์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       139.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาสมา สุทธิพงศ์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       140.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภวัต เจียมจิณณวัตร สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       141.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ. ภากร จันทนมัฏฐะ อายุรแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม. มหิดล
       142.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โอฬาร พรหมาลิขิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       143.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชิต ลีละศิธร มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       144.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทย์ วราวิทย์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       145.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมัญญา ทิศาวิภาต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       146.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       147.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.กอปรชุษณ์ ตยัคคานนท์ คณะแพทย์ศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
       148.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.กำธร มาลาธรรม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       149.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
       มหาวิทยาลัย
       150.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กุสุมาวลี คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิต
       พัฒนบริหารศาสตร์
       151.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณาณัฏฐ์ธัญ วงศ์บ้านดู่ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       152.ผู้ช่วยศาตราจารย์ เมธา เสรีธนาวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       153.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ม.ล.วิฏาราธร จิรประวัติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
       มหาวิทยาลัย
       154.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนม คลี่ฉายา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       155.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นภวรรณ ตันติเวชกุล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       156.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุทธยา สมสุข คณะบริหารธุรกิจ ม.เทคโนโลยีราชมงคล พระนคร
       157.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทญ.ดร. อรนาฏ อัมพรอร่ามเวทย์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์
       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       158.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทญ.พัชรา พิพัฒนโกวิท คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
       มหาวิทยาลัย
       159.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทพ.ดร.กิตต ต.รุ่งเรือง คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
       มหาวิทยาลัย
       160.ผู้ช่วยศาสตราจาย์ ทญ.ดร.รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
       มหาวิทยาลัย
       161.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จตุรงค์ จงสถิตย์ไพบูลย์ คณะแพทยศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์
       162.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดวงเดือน รัตนะมงคลกุล คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
       163.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิรังรอง รามสูต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       164.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณรงค์ ขำวิจิตร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       165.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นราธิป ศรีราม สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       166.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ส่งเสริม หอมกลิ่น สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       167.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรรณพ จีนะวัฒน์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       168.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารี ชีวเกษมสุข สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       169.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤติกา จิวาลักษณ์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       170.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรสา ปานขาว สาขาวิชานิเทศศาสตร์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       171.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปองสิน วิเศษศิริ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       172.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กัลยา ปริปัญญาพร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       173.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์ทรงกลด คชเสนี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       174.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชื่นชนก โควินท์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       175.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       176.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อำไพ ตีรณสาร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       177.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันทิพา หลาบบุญเลิศ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       178.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอมอร นิรัญราช ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
       179.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เยาวดี พัฒโนทัย ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
       180.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กิตติ ศิริวัฒน์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ ม.ศรีนครินทร์วิโรฒ
       181.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ. สินี ดิษฐบรรจง คณะแพทย์ศาสตร์ ม.มหิดล
       182.DR. Simant Prakoonwit University of Reading, UK.
       183.ดร.จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       184.ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       185.ดร.ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       186.ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       187.ดร.พรสิริ ปุณเกษม คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
       188.ดร.ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
       189.ดร.อนุชิต ล้ำยอดมรรคผล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
       190.ดร.ญาติ กฤษณังกูร อดีตอาจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
       มหาวิทยาลัย
       191.ดร.สุทธิลักษณ์ หวังสันติธรรม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       192.ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       193.ดร.จิรบุณย์ ทัศนบรรจง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       194.ดร.โสภาวรรณ บุญนิมิตร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       195.ดร.ศรเนตร อารีโสภณพิเชษฐ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       196.ดร.อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       197.ดร.ม.ร.ว. รุจยา อาภากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
       198.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       199.ดร.พูลทรัพย์ วิรุฬหกุล อดีตนักวิชาการประมงทรงคุณวุฒิ กรมประมง
       200.ดร.ไกร ตั้งสง่า นักวิชาการอิสระ
       201.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
       202.นพ.อาคม นงนุช คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       203.นพ.ชาครีย์ จักรพันธุ์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       204.นพ. ธนพจน์ จันทร์นุ่ม คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       205.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       206.พญ.แสงศุลี ธรรมไกรสร คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       207.พญ.มนฑรัตน์ จินดา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       208.พญ.วรรณี เกศมาลาศิริ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
       209.พญ.พรพรรณ ศรีพรสวรรค์ คณะแพทย์ศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
       210.พญ.กนิษฐา กิจสมบัติ รพ.ชลประทาน มศว.
       211.พญ.กชพร วงษ์สุวรรณ รพ.ชลประทาน มศว.
       212.Dr. Panpim Cheaupalakit International College มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
       213.Ajarn Malin Dejtisak International College มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
       214.Ajarn Theerapong Subsupanwong International College มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
       215.อาจารย์ คมสันต์ โพธิ์คง สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       216.อาจารย์ ณัฏศิษฏ์ ใจสะอาด สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       217.อาจารย์ อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       218.อาจารย์ ยอดชาย ชูศรี นักวิชาการอิสระ
       219.อาจารย์ รจเรข รุจนเวช คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
       220.อาจารย์ ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร
       ศาสตร์
       221.อาจารย์ อรทัย วารีสอาด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
       222.อาจารย์ ดังกมล ณ ป้อมเพชร
       223.อาจารย์ นายแพทย์ ชัชชัย ปรีชาไว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
       224.อาจารย์ พญ. สุภวรรณ เลาหศิริวงศ์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
       225.อาจารย์ บุณฑรี วานิชวัฒนรำลึก มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       226.อาจารย์ วรรณพร อิศวิลานนท์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       227.อาจารย์ อรศิริ อมรวิทยาชาญ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       228.อาจารย์ ชัยพฤกษ์ กุสุมาพรรณโญ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       229.อาจารย์ พัชนี ภาษิตชาคริต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       230.อาจารย์ สุธีร์ รัตนะมงคลกุล มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       231.อาจารย์ อรพิน ธนพันธุ์พาณิชย์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       232.อาจารย์ ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ
       233.อาจารย์ กฤช วีรกุล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
       กำแพงแสน
       234.อาจารย์ พรชัย อั้นขาว ม.เทคโนโลยีราชมงคล พระนคร
       235.อาจารย์ ดนุวัส สาคริก วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต
       236.อาจารย์ จารุวรรณ เอกวัลลภ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล
       237.อาจารย์ ใจชนก ภาคอัต คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
       238.อาจารย์ ภัทรกิติ์ โกมลกิติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       239.อาจารย์ จิราภรณ์ ภัทราภานุภัทร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       240.อาจารย์ วิเชียร กระภูฤทธิ์ นักวิชาการอิสระ
       241.อาจารย์ นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล นวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
       242.อาจารย์ จิตต์ภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา นวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ม.ศรีนครินทรวิ
       โรฒ
       243.อาจารย์ บุณฑริกา สุวรรณวิบูลย์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
       244.อาจารย์ พัชรินทร์ ปิงเมืองแก้ว มหาวิทยาลัยนเรศวร
       245.อาจารย์ ศิริลักษณ์ สุตันไชยนันท์ Media Production Department จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       246.อาจารย์ พรรษาสิริ กุหลาบ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       247.อาจารย์ มานพ แย้มอุทัย คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       248.อาจารย์ มรรยาท อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       249.อาจารย์ พักตร์พิไล คุปตะวาทิน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       250.อาจารย์ วิไลรักษ์ สันติกุล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       251.อาจารย์ สมิทธิ์ บุญชุติมา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       252.อาจารย์ ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       253.อาจารย์ ปรีดา อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       254.อาจารย์ สุกัญญา สมไพบูลย์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       255.อาจารย์ ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       256.อาจารย์ เต็มสิทธิ์ ศิริพานิช คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       257.อาจารย์ วราภัสสร์ รังสิยวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       258.อาจารย์ ไศลทิพย์ จารุภูมิ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       259.Mr. James Haft หลักสูตรนานาชาติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       260.อาจารย์ สิริพิชญ์ วรรณภาส สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       261.อาจารย์ จรีพร โชติวิบูลย์ทรัพย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       262.อาจารย์ ดร.สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล สาขาวิชาศิลปศาสตร์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       263.อาจารย์ วสันต์ รัตนโภคา สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       264.อาจารย์ ดร.นรินทร์ทิพย์ ทองศรี สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       265.อาจารย์ อิงอร ไชยเยศ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       266.อาจารย์ วิลาวัลย์ ศิลปศร สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       267.อาจารย์ บุณฑริกา นันทา สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       268.อาจารย์ ปิลันธนา แป้นปลื้ม สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       269.อาจารย์ กิตติ ลี้สยาม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       270.อาจารย์ อดิศักดิ์ สุมาลี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       271.อาจารย์ กุลธิดา บรรจงศิริ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       272.อาจารย์ ดร.ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       273.อาจารย์ อรวรรณ น้อยวัฒน์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       274.อาจารย์ วุฒิ วุฒิธรรมเวช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       275.อาจารย์ พวงพกา กิจจานนท์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       276.อาจารย์ กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       277.อาจารย์ วนิดา ลิวนานนท์ชัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
       278.อาจารย์ รณชิต จินะดิษฐ์ อาจารย์พิเศษ คณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       279.อาจารย์ ศาสตรา โตอ่อน คณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต
       280.อาจารย์ ศรันยา เสี่ยงอารมณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       281.อาจารย์ สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       282.นางปาณัสกร นวลวัฒน์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       283.KANYA  PITTAYAWAT คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       284.นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์
       285.นายภราเดช พยัฆวิเชียร นักวิชาการอิสระ เลขาธิการมูลนิธิใบไม้เขียว
       286.พลตรีหญิง อุษณีย์ เกษมสันต์ ณ อยุธยา นักวิชาการอิสระ
       287.นายอาทิตย์ กระภูฤทธิ์ นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สงขลา
       288.นางรัตติกร เอกษมานนท์ ข้าราชการบำนาญ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       289.นางพรทิพย์  โภไคยอุดม  สำนักงานจัดการศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       290.นายณรงค์  ช่อนาม  วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข  จุฬาฯ
       291.นางสาว สิณะตา ศรีสวาท ฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       292.Chusak Kongmanee หัวหน้าฝ่ายประมวลข้อมูล สำนักทะเบียน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       293.นายวรชัย สิงหฤกษ์ นักวิชาการอิสระ
       294.นายชรัตน์ สินธุสอาด นักวิชาการอิสระ
       295.นายจุมพล หมอยาดี นักวิชาการอิสระ
       296.นายสาธิต มัลลิกะมาส นักวิชาการอิสระ
       297.นางอัญญมณี มัลลิกะมาส นักวิชาการอิสระ
       298.นางรัชนีวลัย ภัทรกมล นักวิชาการอิสระ
       299.นางวรรณวิไล เชาว์ธาดาพงศ์ นักวิชาการอิสระ
       300.นางสาวบุษราคัม เพชรคล้าย นักวิชาการอิสระ
       301.นางปองศิริ ยูวะเวส นักวิชาการอิสระ
       302.นายสุชาติ เกตุนุติ นักวิชาการอิสระ
       303.นายวรศักดิ์ เหลืองสุวรรณ นักวิชาการอิสระ